ภารกิจ VietJet Air หวังยึดสมรภูมิ Low-cost อาเซียน ไม่ใช่แค่เวียดนาม

0
1340

จากการพยากรณ์ของ บริษัท Boeing การเดินทางโดยเครื่องบิน หลังจากยุคโควิด จะเริ่มใช้งานเครื่องบิน Single-Aisle เป็นหลัก


เครื่องบิน Single-Aisle คือ เครื่องบินพาณิชย์ลำเล็ก ลำตัวแคบ ที่มีทางเดินตรงกลางแถวเดียว เล็กกว่า จุผู้โดยสาร สัมภาระได้น้อยกว่า ประหยัดน้ำมันกว่า

ในอนาคต การสั่งซื้อเครื่องบินหลักๆ และ Traffic อันดับหนึ่งในอนาคต อยู่ในประเทศจีน

และพยากรณ์การใช้เครื่องบินทั่วโลก ระยะยาวถึงปี 2040 อัตราการเติบโตการใช้งานเครื่อง Single-aisle มีอัตราการเติบโตมากกว่า เครื่องบิน Wide-body (มีทางเดิน 2 แถว เครื่องลำใหญ่) เพราะความต้องการการเดินทางในประเทศกลุ่ม Emerging และการเติบโตของสายการบินต้นทุนต่ำอย่างมีนัยยะ

ที่อเมริกา การนั่งเครื่องบินข้ามเมืองกันเป็นเรื่องปกติมากกว่า 20 ปีแล้ว เนื่องจากอเมริกาเป็นทวีปใหญ่ เดินทางจากตะวันออกไปตะวันตกราวๆ 5 ชม. ใช้เวลาเท่ากับบินจากไทยไปเกาหลี

คนอเมริกันจึงเรียก การนั่งเครื่องบินชั้นประหยัดว่า Coach คล้ายกับการนั่งรถ Coach ราคาถูกข้ามเมือง เป็นเรื่องปกติ

ภายในอาเซียนที่ด้วยกันที่ไกลที่สุดอย่าง อินโดนีเซีย หรือเมืองในประเทศจีนใกล้ๆ ใช้เวลาบินประมาณ 3 ชั่วโมง

หรือถนนหนทางที่ยากลำบาก จากเวียดนามทางเหนือไปใต้ ชั่วโมงบิน 1 ชั่วโมงครึ่ง การนั่งเครื่องบินเป็นเรื่องที่สะดวกกว่ามาก

ไม่เกินกว่าศักยภาพ ฝูงบินที่เวียดเจ็ทมีในมือ

ขณะนี้เวียดเจ็ทมีฝูงบิน เครื่องบิน Airbus A321Neo, A321Ceo และ A320Ceo ทั้งหมด 71 ลำ ซึ่งลักษณะเครื่องบินในตระกูลเดียวกันนี้ ทำให้ประหยัดค่าซ่อมบำรุง และประหยัดค่าฝึกนักบินต่างฝูงบิน เป็นอย่างมาก

สังเกตจากการบินไทย ที่เข้าแผนฟื้นฟู ในอดีตมีแบบเครื่องบินถึง 7 แบบ ในขณะนี้ ลดเหลือ 4 แบบ ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายลงอย่างมาก แม้จะไม่ใช่เครื่องตระกูลเดียวกันทั้งหมด (Boeing 777, 787 และ Airbus 350, 320 – Thai Smile)


เวียดเจ็ท มี Vision และ Mission ที่จะขยายเส้นทางการบินทั้งในประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก

โดยที่ใน Vision ล่าสุดมีการกล่าวถึงการใช้ Advanced e-commerce platform ในการช่วยหารายได้

ในขณะที่สายการบินต่างๆ ในภูมิภาค ทั้ง Premium และ Low-cost ยังไม่ได้มีกำไรปกติ ในปีล่าสุดท่ามกลาง Pandemic เวียดเจ็ทพลิกฟื้นกลับมามีกำไรอย่างรวดเร็ว

Market share ของเวียดเจ็ท ขึ้นมาตีเสมอ เวียดนาม แอร์ไลน์ สายการบินแห่งชาติแล้ว ที่ 40% (Market share ของทั้งสองสายการบิน สลับกันขึ้นนำมาตั้งแต่ปี 2016 ก่อนโควิด)

สถานการณ์การเดินทางระหว่างประเทศหยุดชะงัก เวียดเจ็ทมีสัดส่วนรายได้จากการบินในประเทศที่ฟื้นขึ้นมาก่อน จากทั้ง Domestic traffic เวียดนามและไทย

เวียดเจ็ท ใช้การเช่าเครื่องบินเกือบทั้งหมด ทำให้มี Fix asset น้อย ขนาดจึงเล็ก เมื่อเทียบกับงบดุล

ในงบการเงินล่าสุด มีส่วนข้องเจ้าหนี้ คือ บริษัท Petrolimex ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ค่าน้ำมัน เพิ่มขึ้นมาเกือบสองเท่า มองในอีกแง่ คือ อำนาจในการต่อรอง งดจ่ายค่าน้ำมันแก่เจ้าหนี้

ส่วนหนี้ต่อทุนไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับ AAV ที่มีการเพิ่มทุน หรือ NOK ที่เข้ากระบวนการแผนฟื้นฟูกิจการ หรือคู่แข่งในประเทศอย่างเวียดนาม แอร์ไลน์ ที่ส่วนทุนลดน้อยลงเรื่อยๆ จากข้อจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ

แต่ถ้าเทียบขนาด Market Cap เวียดเจ็ทอาจจะไม่ได้ต่ำกว่าคู่แข่ง เมื่อเทียบกับคู่แข่งที่ Listed ใกล้เคียง

VietJet Air – Market Cap 93,112 ล้านบาท รายได้  12,804 ล้านบาท

AAV – Market Cap 11,446 ล้านบาท รายได้ 16,260   ล้านบาท

Vietnam Airlines – Market Cap 72,388 ล้านบาท รายได้ 59,090 ล้านบาท

คงต้องมองไปในอนาคตต่อไป ถึงความสามารถในการแข่งขัน เช่น การจัดการเงินสดที่มีในมือ

รวมไปถึงฝูงบินใหม่ ที่ใช้เครื่องบินขนาดเล็ก สอดคล้องกับความต้องการอุตสาหกรรม ที่ยังสามารถบุกตลาดที่มีศักยภาพในภูมิภาค อย่างจีน และอินโดนีเซีย


อ้างอิง :

คุณ Terng (กลุ่มหุ้นคนละตัว Season 2)
https://www.boeing.com/commercial/market/commercial-market-outlook/
https://ir.vietjetair.com/File_Upload/financial-information/annual-reports-root/annual-reports/2021/VJA_AR%202020_ENG%20FULL%2009.08.21-R1.pdf



เรียนออนไลน์ สัมมนา สามารถดูรายละเอียดและสมัครได้ที่: https://www.vietnamvi.com/onlinecourse/

ติดตามข่าวสารจาก VietnamVI

Website: https://www.vietnamvi.com

Facebook: vvinvestor

Line: @vietnamvi

YouTube: https://youtube.com/c/Vietnamvi

ห้องคุยหุ้นเวียดนาม:https://www.facebook.com/groups/473890360486727