Gojek สตาร์ทอัพสัญชาติอินโดนีเซีย ถือเป็นคู่แข่งสำคัญของ Grab ในเวียดนาม
.
ภายในสิ้นปี 2021 Gojek Vietnam ขาดทุนมากกว่า 4,045 พันล้านดอง
.
Gojek เป็นหนึ่งในซุปเปอร์แอพที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัทสตาร์ทอัพในชาวอินโดนีเซียรายนี้มีมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนที่จะควบรวมกิจการกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Tokopedia เข้าเป็น GoTo Group ในเดือนพฤษภาคม 2021
หลังจาก 4 ปีแห่งการเข้าสู่ตลาดเวียดนาม Gojek พร้อมด้วย Grab และ Be เป็นบริษัทเรียกรถสามแห่งที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด อย่างไรก็ตาม จนถึงตอนนี้ Gojek Vietnam ยังไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่หลายคนคาดหวัง ในอินโดนีเซีย Gojek มีบริการที่แตกต่างกันกว่า 20 รายการ แต่ในเวียดนามมีเพียงบริการพื้นฐานบางอย่างเช่น GoRide GoFood GoSend และ GoCar เท่านั้น
Gojek เปิดตัวในตลาดเวียดนามเมื่อเดือนสิงหาคม 2018 ด้วยชื่อ GoViet พร้อมบริการสองอย่าง GoBike (เรียกรถมอเตอร์ไซค์) และ GoSend (ส่งสินค้าและพัสดุ) และในอีก 2 เดือนต่อมา บริษัทก็เปิดตัวบริการสั่งอาหารออนไลน์ GoFood
ในขณะนั้น “สงคราม” ระหว่างแกร็บและบริษัทแท็กซี่แบบดั้งเดิมในเวียดนามกำลังดุเดือดอย่างยิ่ง ด้วยการสนับสนุนทางการเงินและเทคโนโลยีจากบริษัทแม่ในอินโดนีเซีย GoViet ถือเป็นคู่แข่งสำคัญของ Grab ซึ่งต่างก็อัดโปรโมชั่นต่างๆ เช่น การเหมาจ่ายราคาเดียวในการเดินทาง หรือ ส่วนลดฟรีสำหรับผู้ขับขี่ ฯลฯ
ในงานเปิดตัวที่กรุงฮานอยในเดือนกันยายน 2018 GoViet ประกาศว่า GoBike ครอง 35% ของความต้องการของตลาดเรียกรถแท็กซี่มอเตอร์ไซค์ภายในเวลาเพียง 3 เดือนของการทดสอบบริการในโฮจิมินห์ซิตี้ และด้วยกระแสตอบรับในเบื้องต้นที่เป็นบวก ตัวแทนของ GoViet ได้แชร์ว่าบริการเรียกรถของ GoCar จะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในสิ้นปี 2018 อย่างไรก็ตาม แผนนี้ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้
ในเดือนมีนาคม 2019 ตลาดบริการเรียกรถรู้สึกประหลาดใจกับข่าวที่ว่าทั้งผู้อำนวยการทั่วไป Nguyen Vu Duc และรองผู้อำนวยการทั่วไป Nguyen Bao Linh แห่ง GoViet ได้ลาออก ซึ่งต่อมาได้คุณ Le Diep Kieu Trang ซึ่งเคยเป็น CEO ของ Facebook Vietnam เข้ามาบริหาร แต่หลังจากดำรงตำแหน่งได้เพียง 5 เดือน เธอได้ลาจากตำแหน่ง CEO ไปเช่นเดียวกัน
ในเดือนสิงหาคม 2020 แบรนด์ GoViet ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการ เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Gojek Vietnam เอกลักษณ์ของสีและเครื่องแต่งกายของผู้ขับขี่เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเขียว สีดำ และสีขาว คล้ายกับบริษัทแม่
จากการสำรวจของ Q&Me ที่เผยแพร่เมื่อเดือนมิถุนายน 2021 โดยอ้างอิงจากจำนวนลูกค้าที่ใช้บริการรถจักรยานยนต์ Grab มีส่วนแบ่งทางการตลาด 60% Gojek มี 19% และ Be มี 18% สำหรับตลาดรถยนต์นั้น ส่วนแบ่งการตลาดของ Grab นั้นมากถึง 66% ในขณะที่เบอร์สองอย่าง Be มี 22% และส่วนที่เหลือคือเจ้าอื่นๆในตลาด
ในขณะที่คู่แข่งรายใหญ่เช่น Grab และ Be กำลังครองตลาดบริการเรียกรถ 4 ล้อ GoJek กลับไม่ได้บุกตลาดนี้จนกระทั่งเดือน สิงหาคม 2021 เพราะตลาดการเรียกรถ (Car Hailing) ถือเป็นการแข่งขัน “การเผาเงิน” และการทำกำไรมักเป็นปัญหาที่ท้าทายผู้เล่นในตลาดนี้
จากรายงาน จนถึงสิ้นปี 2021 Grab เวียดนาม ขาดทุนสะสมมากกว่า 4,300 พันล้านดอง ส่วน GoJek ก็สูญเงินไปกว่า 4,000 พันล้านดองเช่นกัน
เมื่อดูผลประกอบการจะเห็นได้ว่า การขาดทุนของทั้ง Grab และ Gojek ส่วนใหญ่มาจากค่าใช้จ่ายในการขายที่สูง เช่น การเปิดตัวโฆษณาและโปรแกรมส่งเสริมการขายเป็นประจำเพื่อรักษาลูกค้าเก่าและดึงดูดผู้ใช้รายใหม่ และแม้ว่ารายได้ของทั้ง GoTo (บริษัทแม่ของ GoJek) และ Grab จะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความต้องการในบริการของบริษัทยังมีอีกมาก แต่ ตัวเลขขาดทุนก็สูงขึ้นทุกปีเช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก Ndh.vn (8/9/22)
.
______
.
.

สนใจสมัครคอร์ส / สัมมนา / VVI Membership คลิ๊กดูรายละเอียดและสมัครได้ที่
https://class.vietnamvi.com/