ความต้องการเติบโตแกร่ง หนุนอุตสาหกรรมอาหาร-เครื่องดื่มเวียดนาม

0
1371
Vietnam F&B Industry Growth
Vietnam F&B Industry Growth

.

รองประธานสมาคมอาหารแห่งนครโฮจิมินห์ (FFA) Nguyen Dang Hien กล่าวว่าในช่วงแปดเดือนแรกของปี 2565 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารรของเวียดนามเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละเก้า จากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2564

ส่วนในนครโฮจิมินห์ ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของภาคอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 และร้อยละ 52.8 ตามลำดับ

ในช่วงระยะเวลาแปดเดือน ยอดขายปลีกของสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการอยู่ที่ประมาณ 3,679.2 ล้านล้านดอง เพิ่มขึ้น 19.3% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ในขณะเดียวกัน มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้ และประมง อยู่ที่ 36,300 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 13.1% จากช่วงเดียวกันของปี 2564 ผลิตภัณฑ์อย่างข้าว ผัก เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และกุ้ง มีมูลค่ามากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์

การเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและการเปลี่ยนจากช่องทางการค้าแบบดั้งเดิมไปสู่ช่องทางการค้าสมัยใหม่ที่หล่อหลอมโดยคนหนุ่มสาว

Pham Ngoc Hung รองประธานสมาคมธุรกิจนครโฮจิมินห์ กล่าวว่า องค์กรมากถึง 94.4% มองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในช่วงเดือนที่เหลือของปี 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเวลานี้ของปีที่แล้ว และปัญหาที่เกี่ยวข้องโควิด-19 และการขนส่งสินค้า มีได้บรรเทาลงแล้ว

โอกาสและความท้าทาย

คุณภาพของอาหารที่ผลิตในเวียดนามกำลังดีขึ้น แม้ว่าเวียดนามจะมีแหล่งวัตถุดิบอาหารมากมาย แต่ผู้ประกอบการอาหารแปรรูปยังคงต้องนำเข้าส่วนผสมมากถึง 90% โดยมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี สิ่งนี้ขัดขวางความได้เปรียบในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์อาหารเวียดนามเทียบกับผลิตภัณฑ์ต่างประเทศที่คล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ตาม ตลาดเครื่องปรุงและส่วนผสมอาหารของเวียดนามยังคงมีพื้นที่และโอกาสทางธุรกิจมากมายสำหรับบริษัทในและต่างประเทศ ตลาดอาหารและเครื่องดื่มของเวียดนามยังเป็นจุดหมายปลายทางที่มีศักยภาพสำหรับนักลงทุนต่างชาติจำนวนมาก เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เพื่ออำนวยความสะดวกในการฟื้นตัวและการเติบโตอย่างรวดเร็วหลังเกิดโรคระบาด ทางนครโฮจิมินห์ ได้เพิ่มกิจกรรมส่งเสริมการค้าและการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ช่วยธุรกิจในการโปรโมตผลิตภัณฑ์และแบรนด์ และแสวงหาลูกค้าใหม่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

นอกจากนี้ ยังมีข้อตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามเป็นผู้ลงนามเสนอข้อได้เปรียบในการส่งออกสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร แต่เพื่อที่จะคว้าโอกาสเหล่านี้อย่างรวดเร็วและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ผู้ประกอบการในประเทศต้องลงทุนในอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อปรับปรุงกำลังการผลิตและคุณภาพ และพัฒนาแบรนด์สินค้าของตนด้วย

และเพื่อปรับให้เข้ากับเทรนด์ใหม่ได้ดียิ่งขึ้น ผู้ประกอบการด้านอาหารจำนวนมากได้ลงทุนในในด้านดิจิทัล ทั้งในการพัฒนาความสามารถทางดิจิทัลสำหรับระบบของตนและการเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานให้เป็นดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรขนาดใหญ่จำนวนมากได้เริ่มลงทุนในเทคโนโลยีและข้อมูล เพื่อทำความเข้าใจความต้องการและลักษณะของลูกค้าเป้าหมายสำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท และตอบสนองความคาดหวังของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และปิดท้าย…

Mordor Intelligence Inc. ประมาณการว่าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของเวียดนามจะมีอัตราการเติบโตต่อปีสูงถึง 8.65% ในช่วงปี 2564-2569

————

VVI Membership คลิ๊กดูรายละเอียดและสมัครได้ที่

หน้าแรก