แท็ก: ดร.นิเวศน์
คิดอย่างไรไม่ลำเอียง
โลกในมุมมองของ Value Investor 19 มิถุนายน 64
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ในโลกปัจจุบันที่ “ต้นทุนในการสื่อสาร” ลดลงมาต่ำมากจนแทบเป็นศูนย์ เราก็ได้เห็น Content หรือข้อมูลข่าวสารถูกส่งออกไปมากมายมหาศาลจน “รับไม่ไหว” บางเรื่องก็เป็นเรื่องจริง จำนวนพอ ๆ กันก็เป็นเรื่องไม่จริงหรือที่เราเรียกว่า “Fake News”แต่ที่จริงแล้วคนที่ส่งออกไปก็ไม่รู้ว่าข่าวต่าง ๆ นั้นจริงหรือไม่ ถ้าเขาชอบข่าวหรือข้อมูลนั้น เขาก็เพียงแต่ส่งมันต่อไป เพื่อที่จะให้คนอื่นรู้และเห็นด้วย ...
สรุปเรื่องวัคซีนในเวียดนาม และมุมมองเรื่องเวียดนามฉีดวัคซีนช้า
เพื่อให้เห็นภาพชัดขอเปรียบเทียบสถานการณ์โควิด 19 ระหว่าง เวียดนาม VS ไทย ดังนี้ค่ะ
จำนวนผู้ติดเชื้อ
ไทย 199,264 คน : เวียดนาม 10,730 คน
จำนวนผู้เสียเสียชีวิต
ไทย 1,466 คน : เวียดนาม 59 คน
จำนวนผู้ตรวจเชื้อ
ไทย 8,124,896 คน : เวียดนาม 6,282,417...
ตลาดหุ้นเวียดนามทำจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์น่ากลัวไหม?
จาก ไลฟ์! Update กลยุทธ์หุ้นเวียดนาม หลัง All time High ในเพจ VVI
คุณบิว: ตลาดหุ้นเวียดนามเพิ่งทำจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์ ท่ามกลางความผันผวนของทั่วโลก แบบนี้น่ากลัวไหม อาจารย์มองทิศทางเวียดนามอย่างไรคะ?
ดร.นิเวศน์: ผมกลับคิดว่าไม่น่ากลัวแบบประเทศอื่นที่ขึ้นแรงๆ เพราะไฮเทค
" เวียดนามเป็น Old Tech ของที่อื่น แต่เป็น New Economy ของเค้า"
ที่ขึ้นมานี้ก็มี...
ปรากฏการณ์ใหม่ไม่เคยเจอ
https://youtu.be/vR_iDc5G2S8
พิเศษสำหรับผู้สมัครสัมมนาชมย้อนหลัง- คลิป VDO สัมมนาคนลงทุนหุ้นเวียดนาม 62 และปีก่อนที่ไม่เคยเผยแพร่มาก่อน- บทความ/คลิปไอเดียลงทุนของวิทยากรสุดว้าว- ไลฟ์ชวนคุยกับกูรูทั้งในและต่างประเทศ
เริ่มศึกษาเรียนรู้ได้ทันทีเดี๋ยวนี้ใน Facebook กลุ่มปิด! ปรับทัพลงทุนหุ้นเวียดนาม อเมริกา จีน เท่านั้น
สมัครดูสัมมนาย้อนหลังได้ที่:https://bit.ly/316AyPXสอบถามเพิ่มเติม line: @vietnamvi หรือ Inbox มาที่ facebook.com/vvinvestor
วิธีเลือกตลาดหุ้นลงทุน
โลกในมุมมองของ Value Investor 6 มีนาคม 64
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ด้วยโลกของการลงทุนที่เปิดกว้างขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนสำหรับนักลงทุนไทย ประกอบกับการที่ตลาดหุ้นไทยมีผลงานการลงทุนที่ “ย่ำแย่” คือแทบไม่ให้ผลตอบแทนเลยมาเป็นเวลา 7-8 ปีแล้ว การเคลื่อนย้ายเม็ดเงินลงทุนไปยังตลาดอื่น ๆ ทั่วโลกจึงเป็นสิ่งที่มีเหตุผลและนักลงทุนจำนวนไม่น้อยก็ได้เริ่มออกไปลงทุน หลาย ๆ คนได้ผลตอบแทนที่ดีมากในช่วงเร็ว ๆ นี้ อย่างไรก็ตาม มีคำถามว่าตลาดหุ้นที่ไปลงนั้น จะดีต่อไปอย่างยั่งยืนหรือเปล่า ...
Bitcoin = Digital Gold
โลกในมุมมองของ Value Investor 13 กุมภาพันธ์ 64
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โลกในมุมมองของ Value Investor 13 กุมภาพันธ์ 64
การซื้อบิทคอยน์จำนวน 1.5 พันล้านเหรียญและการประกาศว่าเทสลาจะรับบิทคอยน์เป็นค่าซื้อรถเทสลาของ อีลอน มัสก์ เมื่อสัปดาห์ก่อนนั้น ต้องถือว่าเป็น “ข่าวใหญ่” ในแวดวงธุรกิจ การเงินและการลงทุน หลังจากที่ข่าวออกไปในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 64 ราคาบิทคอยน์ก็ปรับตัวขึ้นถึง 19% เป็นประมาณ 1.4 ล้านบาทไทยและสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ทำให้มูลค่าทั้งหมดหรือ Market Cap. ของบิทคอยน์เท่ากับประมาณ...
การกระจายตลาด เช่นถือหุ้นต่างประเทศด้วยก็อาจจะเป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคนี้
Survivor
โลกในมุมมองของ Value Investor 7 พฤศจิกายน 63
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
Survivor
คนที่เป็น VI นั้น ผมคิดว่าน่าจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งนั่นก็คือ เขาเป็น “Survivor” หรือคนที่สามารถ “เอาตัวรอด” ได้ใน “สถานการณ์ที่ยากลำบาก” อย่างเช่นในเรื่องของการลงทุนในปัจจุบันนั้น ถ้าใครที่พอร์ตลงทุนโดยรวมขาดทุนหรือเสียหายไม่เกิน 20-25% และไม่ได้ทำให้ “ชีวิต” เปลี่ยนแปลงไปมาก ก็ต้องถือว่ายังเป็น Survivor เหตุผลก็เพราะเศรษฐกิจไทยตกอยู่ในช่วงภาวะ “วิกฤติ”ตลาดหุ้นเองก็เคยตกลงมาหนักกว่า 30% ในช่วงแรก และแม้แต่ในช่วงล่าสุดก็ยังตกลงมากว่า 20% จากต้นปี อย่างไรก็ตาม นี่ก็ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเขาจะยังอยู่รอดได้ไปถึงสิ้นปีหรือในอนาคตข้างหน้าสำหรับวิกฤติรอบนี้ เหตุผลก็เพราะ วิกฤติรอบนี้ก็ยังไม่จบ ดัชนีตลาดหุ้นไทยเองก็ยังไม่ได้ฟื้นตัวและกลับทิศไปแน่นอนแล้วอย่างที่อาจจะเกิดขึ้นในตลาดหุ้นที่ก้าวหน้ากว่าอย่างสหรัฐหรือจีนหรือตลาดหุ้นที่ด้อยกว่าอย่างตลาดหุ้นเวียตนาม
ในความคิดของผม คำว่า Survivor ในเรื่องของการลงทุนนั้น เป็นเรื่อง “ระยะยาว” ที่คน ๆ...
Super Stock ใน 10 ปีข้างหน้า
โลกในมุมมองของ Value Investor 19 กันยายน 63
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เมื่อประมาณเกือบ 20 ปีที่แล้วในตลาดหุ้นไทย มีนักลงทุนกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่าเป็น Value Investor ก่อกำเนิดขึ้น พวกเขาเป็นนักลงทุน “หน้าใหม่” ในตลาดหุ้น ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นนักลงทุน “รายย่อย” และเป็น “คนกินเงินเดือน” ที่มีรายได้ค่อนข้างดีเนื่องจากจบการศึกษาสูง หลายคนเรียนจบจากต่างประเทศและมีตำแหน่งหน้าที่การงานในบริษัทชั้นนำของประเทศหรือบริษัทข้ามชาติ และก็แน่นอนว่าบางคนก็มีฐานะทางบ้านที่ดีหรือดีมากและเป็นนักธุรกิจอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เหมือนกันหมดก็คือทุกคนมีความมุ่งมั่นในการลงทุนโดยเฉพาะในตลาดหุ้นตามแนวทางการลงทุนของ “VI”อย่างที่เรียกกันในปัจจุบันนั่นก็คือ การมองว่าหุ้นก็คือธุรกิจและเราสามารถประเมินมูลค่าของมันได้ และจะซื้อก็ต่อเมื่อมูลค่านั้นสูงกว่าราคาหุ้นมากพออย่างที่เรียกว่ามี Margin of Safetyสูง และจะขายต่อเมื่อราคาหุ้นสูงเกินพื้นฐานหรือ “มูลค่าที่แท้จริง” นั้น
ผมคงไม่ต้องพูดว่า VI กลุ่มนั้นต่างก็ทำผลงานการลงทุนได้ดีเยี่ยม หลายคนเป็นเศรษฐีหรือมหาเศรษฐี ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่น่าเชื่อ คนที่เคยกินเงินเดือนต่างก็ “เกษียณตัวเอง” ตั้งแต่อายุยังน้อยและกลายเป็นนักลงทุนเต็มตัวจนถึงวันนี้ แต่ VI “รุ่นใหม่” ที่เพิ่งจะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยไม่เกิน 6-7 ปีนั้น...
Fair Company at Wonderful Price
โลกในมุมมองของ Value Investor 12 ก.ย. 63
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เมื่อเร็ว ๆ นี้มีข่าวว่าบัฟเฟตต์ได้เข้าซื้อหุ้นในตลาดหุ้นของญี่ปุ่นพร้อมกัน 5 ตัวคือ หุ้นอิโตชู มารูเบนนี มิตซูบิชิ มิตซุยและสุมิโตโม ทั้ง 5 บริษัทเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านการค้าของญี่ปุ่นที่ก่อตั้งมานานเฉลี่ยแล้วน่าจะเป็นหลัก100 ปีขึ้นไป ตั้งแต่ญี่ปุ่นเริ่มพัฒนาเป็นประเทศสมัยใหม่จนถึงปัจจุบันที่กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วและเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ทั้งหมดนี้ แม้ว่าจะเป็นบริษัท “ยุคเก่า” แต่ก็ยังเป็นบริษัท “ยักษ์ใหญ่” ที่มียอดขายมากกว่าปีละ 1 ล้านล้านบาท และครอบคลุมการค้าขายระหว่างประเทศของญี่ปุ่นเกือบทั้งหมดและก็ยังน่าจะเป็นอย่างนั้นต่อไปตราบที่ญี่ปุ่นยังเป็นเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ของโลกอยู่โดยที่เทคโนโลยี่ดิจิตอลไม่สามารถที่จะทำลายมันได้
ลักษณะการซื้อของบัฟเฟตต์ในครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะแตกต่างจากที่เคยทำมาตลอดในชีวิตการลงทุนของเขานั่นก็คือ เป็นการ “กวาดซื้อ” หุ้นหลาย ๆ ตัวที่มีคุณสมบัติเกือบจะเหมือนกันหมดนั่นก็คือมันเป็นหุ้นที่ “ถูกมาก” และเป็น “ตัวแทน” ของบริษัทหรือเศรษฐกิจญี่ปุ่น...
สัญญาณเศรษฐกิจถดถอย
โลกในมุมมองของ Value Investor 22 สิงหาคม 63
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เมื่อสองสามวันก่อนผมได้เริ่มขับรถส่วนตัวไปร่วมสังสรรค์กับเพื่อนกลุ่มนักลงทุน VI ในช่วงเย็นอีกครั้งหลังจากหยุดกิจกรรมที่เคยทำทุกไตรมาศมานานนับสิบปีหลังจากที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเมื่อ 5-6 เดือนก่อน ผมเองไม่ได้ขับรถช่วงเย็นที่เป็นช่วงเร่งด่วนแบบนี้มานานแต่ก็จำได้ว่าในอดีตนั้น เส้นทางที่ผมใช้คือทางด่วนที่ลงถนนพระราม 4 แถวคลองเตยแล้ววิ่งตรงไปทางกล้วยน้ำไทยนั้น เป็นช่วงที่รถติดหนักมาก แต่การขับรถครั้งนี้ปรากฏว่ารถกลับไม่ติดเลยแม้ว่าจำนวนรถอาจจะยังมากอยู่ ในความรู้สึกของผมก็คือ หลังจากโควิด19ในประเทศไทยสงบลงและเราเปิดธุรกิจในประเทศเกือบทั้งหมดแล้ว กิจกรรมของคนที่ต้องเดินทางประจำวันน้อยลงจนเห็นได้ชัดจากการจราจร จริงอยู่ บางคนอาจจะบ่นว่ารถกลับมา “ติดเหมือนเดิมแล้ว” แต่นั่นคงเป็นบางจุดหรือถนนบางสายและก็อาจจะเป็นบางช่วงเวลา ตัวอย่างเช่นในวันหยุดยาวที่คนเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดในบางเส้นทาง หรือในถนนบางสายเช่นแถวศรีนครินทร์ที่มีการสร้างรถไฟฟ้า เป็นต้น แต่เส้นทางที่ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงเช่นเส้นทางในศูนย์กลางของกรุงเทพ ผมคิดว่ารถน้อยลงชัดเจน ตัวอย่างที่ผมเห็นทุกวันก็คือถนนรางน้ำหน้าบ้านผมที่เคยเป็นแหล่งพักของนักท่องเที่ยวชาวจีน ที่ตอนนี้ “โล่งตลอด” นี่ก็เป็นสัญญาณสำคัญที่บอกว่าเศรษฐกิจของไทยกำลังถดถอยลง “อย่างแรง”
จำนวนคนเดินห้างก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บอกว่าเศรษฐกิจกำลังซบเซา หลายคนอาจจะเถียงว่าห้างใหญ่หลาย ๆ แห่งโดยเฉพาะที่อยู่ที่ “ขอบของกรุงเทพ” ที่ตนเองเดินประจำนั้น คนก็กลับมา “เหมือนเดิม” แล้ว หาที่จอดรถไม่ได้และ “คนแน่นยังกับแจกฟรี” แต่นั่นก็อาจจะเป็น “ความรู้สึก” ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ห้างเหงามานานและก็อาจจะเป็นเฉพาะในวันหยุด วันธรรมดาที่เขาไม่ได้ไปนั้นคนอาจจะว่างมาก ผมเองเดินและจ่ายตลาดห้างหรูแถวสยามที่เป็นแหล่งสำคัญของนักท่องเที่ยวต่างประเทศแทบทุกสัปดาห์ ผมยืนยันว่าห้างยังเหงามีคนเดินน้อยกว่าเดิมมาก ซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ผมจ่ายสินค้าประจำวันนั้น ในอดีตจะมีคิวจ่ายเงินยาว เดี๋ยวนี้บางวันแทบไม่มีคิวเลย นี่ก็เป็นสัญญาณว่าคนไทยน่าจะใช้จ่ายน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะในสินค้าที่ไม่จำเป็นและ/หรือสินค้าที่ใช้จ่ายโดยนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
ที่น่าประหลาดใจเล็กน้อยที่ผมเห็นก็คือ สินค้าหรูหราและมีราคาสูงมากอย่างเช่น ร้านที่ขายสินค้าเครื่องแต่งกาย“ซุปเปอร์แบรนด์” หลายร้านนั้นมีคน “เข้าคิว” รอเข้าไปชมและซื้อสินค้าอย่างที่เคยเกิดขึ้นในช่วงก่อนโควิด19 แล้ว ราคาสินค้าของร้านเหล่านี้ไม่ได้มีการ “ลดราคากระหน่ำ” เพื่อเรียกลูกค้า ว่าที่จริงบางร้าน “ขึ้นราคา” สินค้าที่เคยขายด้วยซ้ำ นี่ทำให้ผมสรุปว่า คนที่มีฐานะมั่งคั่งสูงในสังคมไทยนั้น ไม่ได้ถูกกระทบมากจนต้องลดการใช้จ่ายลงเลย พวกเขาใช้จ่ายเหมือนเดิม และตอนนี้เนื่องจากว่าไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ เขาจึงใช้จ่ายในประเทศไทยแทน และนี่ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกันในต่างประเทศ ตัวอย่างเช่นในจีนที่ตอนนี้มีข่าวออกมาแล้วว่าสินค้าซุปเปอร์แบรนด์ขายดีขึ้นมากกว่าเดิมก่อนโควิด19 ด้วยซ้ำ
นอกจากเรื่องของสินค้าเครื่องแต่งกายหรูแล้ว บ้านหรูในช่วงหลังโควิดก็ดูเหมือนว่าจะขายดีขึ้นโดยเปรียบเทียบกับบ้านที่ขายคนส่วนใหญ่ทั่วไป ว่าที่จริงแม้แต่ในช่วงที่ยังปิดเมืองกันอยู่ก็มีสัญญาณแล้วว่าคนมาดูและซื้อบ้านหรูมากขึ้น นั่นแสดงว่าคน “ซุปเปอร์ริช” หรือคนรวยจัดนั้นไม่ได้ถูกระทบมากจากวิกฤติและยังซื้อสินค้าหรูและมีราคาแพงเหมือนเดิม นี่ก็พอจะเห็นได้จากการที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ขายบ้านหรูทำผลงานในไตรมาศ 2ได้ดีกว่าบริษัทที่เน้นบ้านราคาต่ำหรือระดับกลางที่ถูกกระทบอย่างแรง
บ้านมวลชนนั้นอาจจะขายได้น้อยลง แต่ธุรกิจพวกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างหลายแห่งอาจจะคุยว่ายอดขายไม่ตกในช่วงปิดโควิด นี่อาจจะเป็นเรื่องจริง แต่ก็ต้องระวังว่าสินค้าเหล่านี้มี Lag Time หรือเป็นสินค้าที่เมื่อเศรษฐกิจวิกฤติทันทีนั้น ความต้องการของสินค้ายังมีอยู่เหมือนเดิมเนื่องจากบ้านที่เริ่มสร้างแล้วก็จะต้องสร้างต่อไปจนจบถ้าเจ้าของยังมีกำลังอยู่ ผมเองก็กำลังสร้างเหมือนกันและพบว่างานก่อสร้างนั้นไม่เคยหยุดเลยในช่วงโควิด19 ดูเหมือนว่ามันจะเร็วขึ้นด้วยซ้ำเพราะคนงานไม่ขาดเหมือนในช่วงปกติ สิ่งที่ต้องระวังก็คือ หลังจากนี้เมื่องานเริ่มเสร็จ และงานใหม่ก็ไม่เข้ามาเนื่องจากความต้องการบ้านหรืออาคารต่าง ๆ น้อยลง ธุรกิจก่อสร้างก็อาจจะเห็นยอดขายหดตัวอย่างแรงได้
การตกต่ำลงของเศรษฐกิจนั้น ผมคิดว่าสาเหตุหลักก็มาจากการที่ธุรกิจท่องเที่ยว การเดินทางและกิจกรรมที่คนต้องเข้ามาอยู่ใกล้ชิดกันต้องหยุดลงเกือบจะสิ้นเชิง นั่นทำให้คนจำนวนมากนับล้าน ๆ คนต้องตกงานทันที พวกเขาต้องลดการบริโภคลง ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นมากที่สุดในช่วงไตรมาศ 2 และเราต่างก็คิดว่าหลังจากนั้นเศรษฐกิจก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว ไตรมาศ 2 น่าจะต่ำสุดและช่วงต่อจากนี้ความเจ็บปวดก็น่าจะน้อยลง อย่างไรก็ตาม ผมก็ค่อนข้างประหลาดใจเมื่อได้ข่าวว่าลูกสาวเพื่อนที่ทำงานเป็นแอร์โฮสเตทของสายการบินระดับท็อป ๆ ของโลกแห่งหนึ่งถูกปลดแบบ “ฟ้าผ่า” หลังจากที่หยุดไม่ได้ทำงานมาหลายเดือนแล้วและกำลังหวังว่าจะกลับไปทำงานเนื่องจากสายการบินเริ่มจะกลับมาบินใหม่ในบางเส้นทาง เหตุการณ์นี้ทำให้ผมคิดว่า ในช่วงไตรมาศ 2 นั้น บริษัทหรือธุรกิจบางแห่งก็ยังพยายามรักษาคนงานไว้ แต่พอถึงวันนี้เขาก็รับกับค่าใช้จ่ายไม่ไหวและต้องปลดคนออกไป ช่วงเวลาเดียวกันรัฐบาลก็ช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายแก่คนจำนวนมากเดือนละ 5,000 บาทจนสิ้นเดือนสิงหาคม ในอีกด้านหนึ่งแบ้งค์ชาติก็ยอมให้ลูกหนี้จำนวนมากพักการชำระเงินจนถึงเดือนกันยายน ทั้งหมดนี้ถ้าไม่ได้รับการต่ออายุอะไรจะเกิดขึ้น? ผมเองคิดว่าเศรษฐกิจคงไม่เลวร้ายลงกว่าไตรมาศ 2 แต่จะดีขึ้นอย่างรวดเร็วผมก็ยังสงสัย
กลับมาเรื่องของการลงทุนบ้าง ในที่ประชุมสังสรรค์เพื่อน VI นั้น ทุกครั้งเราก็จะมีการ “เลือกหุ้น” ที่จะทำผลงานได้ดีใน 3 เดือนข้างหน้า โดยที่ทุกคนจะต้องเลือกหุ้นที่ตนเองชอบ ส่วนใหญ่ก็คนละ 2-3 ตัว พอพบกันอีกในไตรมาศหน้าก็จะมาดูว่าใครได้ผลตอบแทนเท่าไร นี่ก็เป็นกิจกรรมเล่น ๆ ที่ไม่ได้ซีเรียสหรือแข่งขันอะไรกันแต่ทุกคนก็มักจะเลือกในสิ่งที่ตนเองลงทุนจริง ๆ อยู่แล้ว ผลการเลือกในครั้งนี้มีการเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดจากครั้งหลัง ๆ นั่นก็คือ ในช่วงน่าจะ 2-3 ปีมาแล้ว VI กลุ่มนี้มักจะเลือกหุ้นเวียตนามมากกว่าหุ้นไทย หุ้นไทยที่ถูกเลือกนั้นน้อยลงมาก ส่วนหนึ่งเพราะพวกเขาได้หันไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียตนามมากขึ้น บางคนโดยเฉพาะที่เป็นชาวต่างชาตินั้นไม่ได้ลงทุนในตลาดหุ้นไทยอีกแล้ว แต่ในครั้งนี้ปรากฏว่าจำนวนหุ้นที่ถูกเลือกกลับกลายเป็นหุ้นไทยเป็นส่วนใหญ่ นี่ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าโควิดน่าจะทำให้หุ้นไทยบางกลุ่มหรือบางตัวมีความน่าสนใจมากขึ้นจน VI บางคนที่เคยทิ้งตลาดไปนั้นหันกลับมาลงทุนมากขึ้น
ความสนใจในหุ้นของคนไทยเองนั้น ผมคิดว่าเกิดขึ้นกับคนทั่วไปด้วยเห็นได้จากจำนวนนักลงทุนหน้าใหม่ที่เพิ่มขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัดในช่วงโควิด19 นี่ก็เป็นอะไรที่แปลกเหมือนกัน เหตุผลนั้นผมคิดว่า ประการแรก เป็นเพราะคนที่มีฐานะดีและมีเงินสดอยู่มากนั้นไม่ได้ถูกกระทบจากโควิด พวกเขาคิดว่าการลงทุนในตลาดหุ้นที่ตกลงมานั้นเป็นโอกาสงดงามที่จะทำกำไรอย่างง่าย ๆ เมื่อเทียบกับการฝากเงินที่ให้ผลตอบแทนต่ำมาก ประการต่อมาก็คือ พวกเขาคิดว่าผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่จะถูกกระทบนั้น น่าจะเกิดขึ้นครั้งเดียว หลังวิกฤติแล้วทุกอย่างก็จะกลับมาภายใน 1-2 ปีหรืออย่างมากก็อาจจะ 3 ปี เรื่องที่บริษัทจะ “ล่มสลาย” หรือล้มละลายไปนั้นไม่น่าจะเกิดขึ้น เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ สภาพคล่องในระบบการเงินของไทยยังมีเหลือล้น ตราสารหนี้ที่ออกมาก็ยังมีคนต้องการอีกมาก เมื่อโควิดผ่านไปและลูกค้ากลับมา รายได้และกำไรของบริษัทก็จะกลับมา “เหมือนเดิม” และสุดท้ายก็คือ ตลาดหุ้นต่างประเทศเช่นในสหรัฐอเมริกานั้น ดัชนีหุ้นกลับมาที่เดิมและสูงกว่าแล้ว และผลประกอบการของบริษัทโดยเฉพาะในกลุ่มไฮเท็คนั้นก็เพิ่มขึ้นมาก ดังนั้น เขาเชื่อว่าในที่สุดบริษัทและหุ้นไทยก็จะต้องตามกันไป
ข้อสรุปทั้งหมดของผมก็คือ ภาวะเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนต่อจากนี้น่าจะยังลำบากอยู่มาก โอกาสฟื้นตัวน่าจะเป็นไปอย่างช้า ๆ แต่หุ้นที่ตกลงไปแรงมากกลับฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเม็ดเงินของคนไทยและนักลงทุนไทยซึ่งยังมีเงินมากและไม่ถูกกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากนัก อย่างไรก็ตาม เมื่อความจริงเริ่มจะปรากฏออกมาเรื่อย ๆ ก็อาจจะมีความเสี่ยงว่า นักลงทุนจะเริ่มตระหนักและถอนเงินออก และวันนั้นก็อาจจะเป็นวันที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงมาให้เหมาะสมกับพื้นฐานที่แท้จริงของตลาดหุ้นไทย