แท็ก: ดร.นิเวศน์
จบรอบหุ้นใหญ่แสนล้าน?
โลกในมุมมองของ Value Investor 15 กุมภาพันธ์ 63
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
วันศุกร์ ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งเป็นวันวาเลนไทน์นั้น สำหรับนักเล่นหุ้นแนวเก็งกำไรในตลาดหุ้นไทยคงเป็น “ช็อก” เล็ก ๆ ที่เตือนให้รู้ว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง” ที่ทำให้ขาดทุนโดยไม่ได้คาดคิดได้ เพราะแม้ว่าดัชนีตลาดหุ้นจะลดลงเพียง 6 จุดหรือลดลงเพียง 0.42% แต่หุ้นที่กำลังร้อนแรงกลุ่มหนึ่งที่วิ่งขึ้นโดดเด่นเกือบทุกวันรวมถึงช่วงเช้าของวันศุกร์ที่ 14 กลับตกลงมาประมาณ 3-5% ตอนปิดตลาด เพราะสำหรับนักเล่นหุ้นในช่วงเร็ว ๆ นี้ที่ดัชนีตลาดมักไม่ค่อยไปไหนและมีทิศทางลดลงแต่หุ้นกลุ่มดังกล่าวกลับปรับตัวขึ้นไปเรื่อย ๆ พร้อมปริมาณการซื้อขายที่สูงลิ่วและนักลงทุนลุ้นกันทุกวันว่ามันจะขึ้นไปถึงจุดไหนในหุ้นแต่ละตัว นี่คือกลุ่มหุ้นที่ “พลาดไม่ได้” เพราะมันเป็นหุ้นที่มีพื้นฐานดีเยี่ยม กิจการมั่นคงเติบโต เป็นหุ้นที่มีขนาดหรือมูลค่าหุ้นเป็นแสนแสนล้านบาท
ผมเองติดตามความเคลื่อนไหวและความเป็นไปของตลาดหุ้นเกือบทุกวันเป็นเวลานานมากเท่า ๆ กับที่อยู่ในตลาด ปรากฏการณ์ที่ผมเห็นมาตลอด 6-7 ปีที่ผ่านมาก็คือ นักเล่นหุ้นส่วนบุคคลซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการซื้อขายหุ้นมากที่สุดขนาดที่บางคนซื้อขายกันทุกวันนั้น จะหา “หุ้นร้อน” ที่จะเล่น และในบางช่วงเวลาก็จะมีหุ้นร้อนที่มีธีมบางอย่างที่สามารถกระตุ้นให้คนสนใจเข้ามาซื้อขายหุ้นได้ บ่อยครั้งก็เป็นเรื่องของอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตหรือกำลังได้ประโยชน์จากกฎเกณฑ์ของรัฐ ทั้งหมดนั้นมักจะดำเนินอยู่ยาวนานพอสมควรอย่างน้อยก็เป็นปี เมื่อเกิดกระแสหรือ“จุดติด” แล้ว หุ้นในกลุ่มนั้นก็จะปรับตัวขึ้นไปเรื่อย ๆ พร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นอย่างแรง ราคาของหุ้นขึ้นไปเป็นร้อยหรือหลายร้อยเปอร์เซ็นต์จนคนทั้งตลาดซึ่งรวมถึงนักวิเคราะห์ต่างก็เข้ามา “ร่วมขบวน” และต่างก็บอกว่าหุ้นก็จะไปต่อไปเนื่องจากพื้นฐานที่ดีของบริษัท
วันที่ประชามติออกมาเป็นเอกฉันท์ว่าหุ้นในกลุ่มนั้นทั้งกลุ่มมีราคาที่เหมาะสม ก็มักจะเป็นวันที่ราคาหุ้นขึ้นไปสูงสุด บางครั้งก็เกิดขึ้นทันทีกับหุ้นทั้งกลุ่มเช่น หุ้นตกลงมาทั้งกลุ่มโดยที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน เป็นไปได้ว่ามีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นกับหุ้นบางตัว หลังจากนั้นนักลงทุนอาจจะเริ่มตระหนักว่าหุ้นที่อยู่ในกลุ่มที่มีความคล้ายคลึงกันก็อาจจะเกิดขึ้นได้ คนหนึ่งขายหุ้นอย่างหนักหุ้นก็ตกทำให้คนที่จ้องมองอยู่ขายบ้างทำให้หุ้นตกเพิ่มขึ้นซึ่งก็ทำให้คนต่อไปทำเช่นเดียวกัน ผลก็คือหุ้นตกลงมาเป็นแผงคล้าย ๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวันวาเลนไทน์ หลาย ๆ ครั้งวันที่เกิดเหตุการณ์แบบนั้นมักจะเป็นวันใกล้วันประกาศงบการเงินประจำไตรมาศหรือประจำปี เหตุผลอาจจะเป็นว่าหุ้นเหล่านั้นมักจะเป็นหุ้นที่เน้นแนวเติบโตสูง การประกาศงบจะเป็นวันที่บอกว่าหุ้นโตจริงหรือเปล่า คนที่มีข้อมูลภายในที่อาจจะรู้ว่างบไม่ดีอย่างที่คาดก็อาจจะขายก่อนและทำให้หุ้นตกมาแรงและทำให้ภาพของหุ้นทั้งกลุ่มเปลี่ยนแปลงไป หลังจากนั้นหุ้นก็อาจจะไม่กลับไปดีมากอย่างที่เคย แบบนี้เราเรียกว่า “จบรอบ”
ประมาณปี 2557 นั้น เราได้เห็นหุ้นขนาดเล็กรวมถึงหุ้นในตลาด MAI หลายบริษัทปรับตัวขึ้นไปดีมากเป็นที่กล่าวขวัญของนักลงทุนว่าเป็นกิจการที่โตเร็ว หุ้น IPO ขนาดเล็กเป็นที่ต้องการสูงมากเพราะคนจองได้กำไรเป็นกอบเป็นกำทุกตัว อย่างไรก็ตามรอบของหุ้นเล็กนั้นก็จบลงน่าจะประมาณปลายปี 2557 และหลังจากนั้นก็ไม่ฟื้นเลย เหตุผลก็อาจจะเป็นเพราะว่าเรื่องราวหรือสตอรี่ของหุ้นตัวเล็กนั้นสร้างไม่ค่อยได้ และเมื่อผลประกอบการทยอยออกมาฟ้องว่ามันไม่ได้โตได้มากอย่างที่คิด นักลงทุนที่ “ชาญฉลาด” หรือคนที่ “ทำหุ้น” ก็รีบถอยโดยการขายหุ้นทิ้งทำกำไรไปก่อนที่ราคาจะไหลลงจนกลับขึ้นไปไม่ได้
ช่วงปี 2559-2560 เป็นเวลาของหุ้นขนาดกลางหรือกลางเล็กที่ผมเรียกว่าเป็นกลุ่ม “หุ้นนางฟ้า” ที่มักเป็นหุ้นสินค้าผู้บริโภคที่มีแบรนด์เนมดี มีกำไรดี มีฐานะการเงินเยี่ยม และที่สำคัญมีสตอรี่ของการเติบโตจากตลาดใหม่ในต่างประเทศ เหตุก็เพราะว่าหุ้นผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นอย่างนั้นในอดีต แต่เหตุที่มันไม่ค่อย Perform หรือหุ้นไม่โตก็เพราะว่าหุ้นเหล่านั้นมักจะมีภาพของธุรกิจที่ค่อนข้างอิ่มตัวในประเทศ การส่งออกหรือขายสินค้าให้กับนักท่องเที่ยวจึงกลายเป็นสตอรี่ที่ทำให้กลุ่มหุ้นนางฟ้าวิ่งเป็นจรวด ราคาขึ้นไปหลายเท่าในเวลาเพียง1-2 ปี แต่หลังจากที่งบการเงินออกมาต่อเนื่องและฟ้องว่าไม่ได้เติบโตอย่างที่คาด ราคาหุ้นก็ร่วงทั้งกลุ่ม หุ้นจบรอบลงอย่างน่าเศร้าสำหรับนักลงทุนที่เข้าไปเล่นในยามที่ทุกอย่างดูสดใสและ “ไม่เสี่ยงเลย” เพราะมันเป็นหุ้นที่ทุกคนรวมถึงนักลงทุนสถาบันและต่างประเทศบอกว่ามันดี
ล่าสุดก็คือกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ระดับแสนล้านบาทโดยเฉพาะหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าและอีกหลายตัวที่ผมมองดูมานานพอสมควรและเห็นว่ามีหุ้นอย่างน้อย 5 ตัวที่เป็นขวัญใจของนักเล่นหุ้น รอบของ “หุ้นใหญ่แสนล้าน” นั้นน่าจะผ่านมาประมาณ 2 ปีแล้วคือตั้งแต่ต้นปี 2561 เป็นต้นมา โดยที่คุณลักษณะที่ร่วมกันของหุ้นกลุ่มนี้สามารถอธิบายเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้
1) เป็นหุ้นที่ขณะนี้มี Market Cap. อย่างน้อย 100,000 ล้านบาทแล้ว ซึ่งกลายเป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่เป็นหุ้นขวัญใจของนักเก็งกำไรที่ในอดีตชอบเล่นแต่หุ้นเล็กที่ราคามักวิ่งขึ้นเร็วกว่า อย่างไรก็ตาม หุ้น 5 ตัวนี้คือหุ้นที่วิ่งขึ้นเร็วมากจนไม่น่าเชื่อ ราคาหุ้นขึ้นไปในเวลา 2 ปีหรือน้อยกว่านั้นโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 110% ซึ่งในอดีตนั้น หุ้นใหญ่ขนาดนี้ขึ้นไปอย่างมากก็ปีละ 20-30% ก็ถือว่ามากแล้ว
2) Market Cap. ของ 5 บริษัทรวมกันจนถึงปัจจุบันประมาณ 900,000 ล้านบาท และในช่วงน้อยกว่า 2 ปีที่ผ่านมาได้สร้าง Market Cap. เพิ่มขึ้นประมาณ 530,000 ล้านบาท นี่เป็นเม็ดเงินมหาศาลที่ทำให้คนที่เข้าไปลงทุนหรือผู้ถือหุ้นเดิมมั่งคั่งขึ้นมหาศาล
3) บริษัททั้ง 5 แห่งนั้นไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่เติบโตเร็ว แต่เป็นอุตสาหกรรม “พื้นฐาน” ที่น่าจะอิ่มตัวในประเทศ แต่กำลังขยายไปต่างประเทศ โดยที่กำไรที่ผ่านมาในอดีตนั้นอยู่ในระดับพอใช้เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้หรือส่วนของผู้ถือหุ้น การเติบโตของกำไรที่ผ่านมานั้นอยู่ในระดับปานกลางถึงดีแต่ก็ไม่ได้โดดเด่นมากนัก อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าจะมีความคาดหวังสูงมากสำหรับการเติบโตของกำไรที่จะมาจากต่างประเทศเนื่องจากโครงการต่าง ๆ “กำลังเดินหน้าอย่างรวดเร็ว”
4) หุ้นเกือบทั้งหมดนั้นมีค่า PE ที่สูงลิ่วเช่นเดียวกับค่าความแพงอื่น ๆ เฉลี่ยหุ้น 5 ตัวมีค่า PE สูงถึง 53 เท่า
5) หุ้นทุกตัวนั้นแม้ว่าจะมี Market Cap. เป็นแสนหรือหลายแสนล้านบาท แต่ Free Float หรือส่วนที่ถือโดยนักลงทุนที่จะซื้อขายหุ้นในตลาดคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับบริษัทขนาดใหญ่เท่า ๆ กัน เนื่องจากบริษัทมักจะเป็นกิจการที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่เดิมที่เป็นผู้ก่อตั้งถือหุ้นส่วนใหญ่อยู่ หรือไม่ก็เป็นบริษัทลูกของบริษัทมหาชนขนาดใหญ่ที่ไม่มีนโยบายขายหุ้นในตลาด และนี่ก็อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้การซื้อขายของนักเก็งกำไรโดยเฉพาะที่เป็นรายใหญ่ซึ่งอาจรวมถึงสถาบันอาจจะสามารถชี้นำราคาหุ้นได้ทั้ง ๆ ที่เป็นหุ้นขนาดใหญ่ระดับแสนล้านบาท
คงต้องดูกันว่าหุ้นกลุ่มที่กล่าวถึงนี้จะมีคำว่า “จบรอบ” เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นในหุ้นกลุ่มอื่น ๆ ในอดีตหรือไม่และจะเกิดขึ้นเมื่อไร ประสบการณ์บอกผมว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยากเมื่อคำนึงถึงระดับราคาของหุ้นและสตอรี่ต่าง ๆ ที่คาดกันว่าจะเกิดขึ้น ผมเองเคยเห็นหุ้นขนาดแสนล้านบาทที่วิ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็วจากบางทีแค่หมื่นหรือสองสามหมื่นล้านบาทมาอยู่เนือง ๆ แต่ในที่สุดก็ตกลงมาแบบ “หายนะ” เมื่อผลประกอบการไม่รองรับและค่า PE ที่สูงลิ่ว ในครั้งนี้ ถ้าจะพูดว่าอาจจะมีบางตัวสามารถรักษาระดับราคาอยู่ได้ตลอดไปผมก็คิดว่ามีความเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม ถ้ามองเป็นกลุ่มแล้ว ผมยังคิดว่ารอบนี้ก็น่าจะเหมือนเดิม คือมีวัน “จบรอบ” ที่ราคาหุ้นตกลงมาอย่างน่าใจหาย
บทสัมภาษณ์สัมภาษณ์ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์สัมภาษณ์ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เห็นว่าน่าสนใจและเป็นประโยชน์กับนักลงทุนจึงขอแชร์
ผมยังเชื่ออยู่เสมอว่าการลงทุนสามารถสร้างโอกาสในการเปลี่ยนแปลงชีวิตจากยาจกให้กลายเป็นเศรษฐี แต่นักลงทุนต้องศึกษาและเรียนรู้ว่าเศรษฐกิจเติบโตอย่างไร เมื่อคุณเข้าใจคุณก็จะไม่ทำแบบเดียวกับที่ผมทำเมื่อยี่สิบปีที่แล้วแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ จริงอยู่ที่หลักการในการลงทุนให้ประสบความสำเร็จยังเป็นแบบเดิม แต่กาละและเทศะไม่เหมือนเดิมแล้ว
ยี่สิบปีก่อนเมืองไทยเติบโตเร็ว แต่ในยุคนี้ชัดเจนว่าเมืองไทยในอีก 20 ปีข้างหน้าจะเติบโตช้าลง เพราะปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือคนแก่ตัวลง ซึ่งเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ตรงนี้ได้ เพราะการไปบอกให้ใครต่อใครมีลูกกันเยอะๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย และคนรุ่นใหม่ก็มีค่านิยมว่าเขาไม่ต้องการมีลูกเยอะ หรือบางคู่แต่งงานกันโดยไม่คิดจะมีลูกเลยด้วยซ้ำ ดังนั้น เราจึงต้องเปลี่ยนไปลงทุนในสถานที่ที่มีการเติบโตเร็ว เช่น ประเทศที่มีเด็กเกิดใหม่เยอะ หรือประเทศที่ประชากรมีศักยภาพสูง ซึ่งประเทศเหล่านี้จะเติบโตต่อไปได้เรื่อยๆ
ถามว่าตอนนี้ผมเลือกไปลงทุนที่ไหน─ถ้าผมหนุ่มกว่านี้สักหน่อยผมคงไปมากกว่านี้ อย่างเช่นตลาดอเมริกาก็น่าสนใจมาก...
4 ปีในตลาดหุ้นเวียตนาม
โลกในมุมมองของ
Value Investor 21 ธันวาคม 62
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ผมเพิ่งตระหนักว่าตนเองได้เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียตนามประมาณ
4-5 ปีแล้วด้วยเม็ดเงินกว่า 10% ของพอร์ตทั้งหมด
ในตอนนั้นวัตถุประสงค์ที่สำคัญก็คือการ Diversify หรือกระจายความเสี่ยงของพอร์ตที่เป็นหุ้นที่อยู่ในตลาดหุ้นไทยทั้งหมด ผมคิดว่าการลงทุนในประเทศเดียวนั้นมีความเสี่ยงกว่าการลงทุนในหลายประเทศและหลายตลาด
และตลาดหุ้นที่ผมเลือกที่จะไปก็คือเวียตนาม เหตุผลก็คือ
ประเทศเวียตนามกำลังก้าวเข้าสู่ช่วงของการเติบโตสูงอานิสงค์จากการเปลี่ยนและเปิดประเทศจากสังคมนิยมเป็นทุนนิยม เป็นประเทศที่มีประชากรวัยหนุ่มสาวเยอะมาก คนทั้งประเทศมีกว่า 90 ล้านคน ค่าแรงของประเทศต่ำกว่าไทยครึ่งหนึ่งและเป็นประชากรที่มีการศึกษาดีขยันขันแข็ง ผลการทดสอบ PISA Test ของนักเรียนได้คะแนนสูงเท่า
ๆ ...
VI บูรณาการ
โลกในมุมมองของ Value Investor 14 ธันวาคม 62
ดร. นิเวศน์
เหมวชิรวรากร
คนที่เป็น VI “พันธุ์แท้” และเป็นมานานนั้น
ผมเชื่อว่าในที่สุดเขาก็จะขยายแนวความคิดและปรัชญาแบบ VI ออกไปจนครอบคลุมถึงทุกเรื่องในชีวิต มุมมองต่อสังคม ประเทศ และโลก และดังนั้น
พวกเขาก็จะมีหลาย ๆ สิ่งหลาย
ๆ
อย่างที่คล้ายคลึงกันไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลก
นี่ก็คงเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่ผมรู้สึกว่าตัวเองชอบสไตล์การใช้ชีวิตและมุมมองในหลาย
ๆ ด้านของวอเร็น บัฟเฟตต์ซึ่งเป็น VI พันธุ์แท้และเป็นไอดอลของผมและของ VI...
ทศวรรษที่(อาจ)หายไป
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โลกในมุมมองของ Value Investor 7 ธันวาคม 62
ในฐานะที่เป็น VI ที่เน้นการลงทุนระยะยาวและปกติก็จะถือหุ้นแต่ละตัวเกินกว่า 5 ปี หลายตัวถือเกิน 10 ปี ผมจึงสนใจพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และตลาดหุ้นในระยะยาวว่าเป็นอย่างไร ข้อสรุปของผมที่ผ่านมาก็คือ ...
หุ้นร้าว. ในระบบเศรษฐกิจของไทยที่คนแก่ตัวลงและโตช้าลงมาก ดังนั้น หุ้นที่แพงจัดมาก ๆ ...
โลกในมุมมองของ Value Investor 16 พฤศจิกายน 62
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หุ้นร้าว
สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาของการประกาศงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งถือว่าเป็นเวลาที่นักลงทุนต้อง “ลุ้น” กันว่าหุ้นที่ตนเองถืออยู่นั้นจะประกาศผลงานที่ดีขึ้นหรือแย่ลงมากน้อยแค่ไหน เพราะผลงานที่ดีขึ้นโดยเฉพาะที่ดีเกินกว่าที่นักวิเคราะห์และนักลงทุนคาดจะทำให้หุ้นวิ่งขึ้น ในทางตรงกันข้าม ผลงานที่น่าผิดหวังจะทำให้หุ้นตกลง ในกรณีของหุ้นขนาดเล็กหรือหุ้นที่ไม่มีนักวิเคราะห์ติดตาม กำไรที่ดีขึ้นก็มักจะเป็นสัญญาณให้นักเก็งกำไรหรือ “นักปั่นหุ้น” เข้าไปไล่ราคาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับหุ้นที่ตนเองถือ สำหรับ VI การติดตามผลประกอบการรายไตรมาศเป็นสิ่งสำคัญที่นอกจากจะช่วยให้เราวิเคราะห์หุ้นที่ตนเองถือต่อเนื่องแล้ว ยังเป็นเวลาที่จะติดตามดูว่ามีหุ้นตัวไหนที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่น่าลงทุนหรือไม่
ไตรมาศ 3 ปี 2562 นี้ดูเหมือนว่าการประกาศงบการเงินจะมีผลกระทบกับหุ้นโดยเฉพาะขนาดกลางและเล็กหลาย ๆ ตัวที่เคยเป็นหุ้นเด่นและนักเล่นหุ้นนิยมเล่นกันมาก หลังจากประกาศ หุ้นเหล่านั้นก็ตกลงมาน่าจะประมาณ...
เล่นหุ้นตามรอบ
โลกในมุมมองของ Value Investor 10 พฤศจิกายน 62
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
สำหรับคนที่เกาะติดตลาดหุ้นและลงทุนหรือเล่นหุ้นตลอดเวลามานานหลาย ๆ ปีและ “จำได้” ก็จะพบว่าผลตอบแทนการลงทุนและความนิยมของหุ้นกลุ่มต่าง ๆ นั้น บ่อยครั้งก็จะมี “รอบ” ของมัน ความหมายก็คือ ในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งมักจะเป็นเวลาเกินปีหรือบางครั้งก็หลายปี จะมีหุ้นกลุ่มหนึ่งหรือบางทีมากกว่านั้นที่ผลตอบแทนหรือราคาหุ้นจะเติบโตโดดเด่นเป็นพิเศษ ตอนเริ่มแรกก็อาจจะมีแค่หุ้นบางตัวในกลุ่มที่วิ่งขึ้นไปแรงมากด้วยเหตุผลต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงผลประกอบการที่เติบโตขึ้นมาก และเรื่องราวหรือสตอรี่ของบริษัทที่สดใส รายได้และ/หรือโครงการในอนาคตนั้นจะเพิ่มพูนขึ้นมากจากโครงการทั้งปัจจุบันและอนาคตที่มั่นคงอานิสงค์จากการเติบโตของอุตสาหกรรมที่เป็น“เมกาเทรนด์” ประกอบกับความสามารถของบริษัทที่ได้มีการพิสูจน์แล้ว
ต่อมาหุ้นที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมหรือธุรกิจเดียวกันก็เริ่มวิ่งตามมา เหตุผลก็แบบเดียวกันนั่นคือ บริษัทก็มีกำไรที่ดี มีโครงการใหม่ไม่น้อยไปกว่ากันเท่าไร...
จากแม่ชม้อยถึงแม่มณี
โลกในมุมมองของ Value Investor 2 พฤศจิกายน 62
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
จากแม่ชม้อยถึงแม่มณี
แชร์ลูกโซ่ 4.0
การต้มตุ๋นทางการเงินจากประชาชนทั่วไปแบบ “แชร์ลูกโซ่” หรือในทางสากลเรียกว่า “Ponzi Scheme” นั้นน่าจะถือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยและทำความเสียหายให้กับ “เหยื่อ” มากที่สุดในสังคมไทย เหตุผลอาจจะเป็นเพราะว่าแชร์ลูกโซ่นั้นมักถูกออกแบบและโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้เป็นเรื่องของ “การลงทุน” ที่ให้ผลตอบแทนดีมากและมีความเสี่ยงต่ำซึ่งจะดึงดูดให้คนทั่วไปสนใจเข้ามาลงทุน โดยที่ธุรกิจหรือการลงทุนที่จะทำนั้นจะเป็นเรื่องที่กำลังโด่งดังอยู่ในกระแส เช่น ในช่วงปี 2520 และต่อมาอีกหลายปีนั้นก็เป็นเรื่องของวิกฤติน้ำมันที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นสูงมาก การลงทุนในธุรกิจน้ำมันน่าจะให้ผลตอบแทนที่งดงาม และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของ “แชร์แม่ชม้อย” ที่ถือว่าเป็นแชร์ลูกโซ่รายแรกของเมืองไทย
คำว่าผลตอบแทนที่ดีมากนั้น ในความคิดของคนทั่วไปที่ไม่ได้มีเงินมากมายนักในประเทศไทยผมคิดว่าคงจะอยู่ที่ประมาณเดือนละ 5-10% และเป็นอัตรานี้มายาวนานแม้ว่าดอกเบี้ยที่เป็นทางการในท้องตลาดจะเปลี่ยนไปมาก นี่เป็นตัวเลขที่ผมประเมินจากประสบการณ์ของตนเองตั้งแต่สมัยที่ทำงานในโรงงานขนาดใหญ่ในต่างจังหวัดเมื่อกว่า 40 ปีมาแล้วที่คนงานต้องจ่ายดอกเบี้ยประมาณเดือนละ 10% จากหนี้นอกระบบ นอกจากนั้น แชร์แม่ชม้อยที่เกิดขึ้นในปี 2520 ก็เสนอผลตอบแทนที่...
ดวงลงทุน
โลกในมุมมองของ Value Investor 12 ตุลาคม 62
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ดวงลงทุน
จากประสบการณ์กว่า 20 ปีในตลาดหุ้น ผมเองคิดว่าตนเองนั้น “โชคดีมาก” ที่เข้าตลาดเริ่มลงทุนอย่างจริงจังและ “เพื่อชีวิต” นั่นคือทุ่มเทเงินทุกบาทลงทุนในหุ้น ในเวลาที่ถูกต้องและด้วยกลยุทธ์ที่ถูกต้องนั่นคือ ลงทุนแบบ “VI” ในยามที่ตลาดหุ้นเกิดวิกฤติ ราคาหุ้นตกลงมาอย่างหนักและแทบไม่มีใครสนใจจะลงทุนหรือพูดถึงตลาดหุ้นเลย ปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันเพียงไม่เกิน 3-4 พันล้านบาท ผลที่ได้รับหลังจากเวลาผ่านไปกว่า 2 ทศวรรษก็คือ ชีวิตที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ผลตอบแทนการลงทุนที่สูงจนแทบไม่น่าเชื่อทำให้กลายเป็นคนที่มีความมั่งคั่งสูงจากคนชั้นกลางกินเงินเดือนที่กำลังตกงานและไม่รู้ว่าอนาคตจะต้องย้ายลูกจากโรงเรียนอินเตอร์ออกมาเรียนโรงเรียนไทยหรือไม่ ทั้งหมดนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้คาดคิด ไม่ได้เกิดจากการวางแผนรวยจากตลาดหุ้น...
หุ้น Consumer
โลกในมุมมองของ Value Investor 28 กันยายน 62
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หุ้น Consumer
ในระยะหลัง ๆ นี้ หุ้นที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เริ่มที่จะมีหุ้นของบริษัทที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภคที่มียี่ห้อเป็นที่รู้จักของคนไทยมากขึ้น หลาย ๆ ยี่ห้อเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาด หุ้นบางตัวมี Market Cap. เกือบแสนล้านบาทหรือเคยมีขนาดเกือบแสนล้านบาทในช่วงสูงสุด หลายตัวก็ยังเป็นหุ้นตัวเล็กที่มีขนาดแค่หลักพันล้านบาทหรือหมื่นล้านต้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร นี่คือหุ้นที่นักลงทุนเริ่มสนใจเข้ามาลงทุน เหตุผลสำคัญส่วนหนึ่งอาจจะเป็นว่าหุ้นเหล่านี้มักจะมีผลกำไรที่ดีและมั่นคงพอสมควรเมื่อเทียบกับหุ้นกลุ่มอื่น การเติบโตหรือสตอรี่ที่จะเติบโตก็พอจะมีอยู่ ฐานะทางการเงินก็มักจะดีและมีหนี้ไม่มาก หลายบริษัทไม่มีหนี้เลย เหตุผลเพราะว่าบริษัทมักจะไม่ต้องลงทุนมากและขายสินค้าเป็นเงินสดหรือได้เงินเร็วในขณะที่จ่ายเงินให้เจ้าหนี้ช้ากว่า และสุดท้ายที่ทำให้หุ้นเหล่านี้บางตัว...