แท็ก: ดร.นิเวศน์
ปัจจัยกำหนดทิศทางตลาดหุ้นปีหน้า
โลกในมุมมองของ Value Investor 21 กันยายน 62
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ปัจจัยกำหนดทิศทางตลาดหุ้นปีหน้า
ช่วงเวลาใกล้สิ้นปีในแต่ละปี นักลงทุน “มืออาชีพ” ในตลาดหุ้นส่วนใหญ่แล้วก็มักจะพยายามคาดการณ์ทิศทางของตลาดหุ้นในปีหน้าว่าจะเป็นอย่างไรเพื่อที่จะกำหนดกลยุทธ์การลงทุนของตนเองว่าจะทำอย่างไรเพื่อที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีในปีหน้า สื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับการลงทุนก็มักจะถาม “กูรู” เพื่อที่จะเป็นแนวทางให้นักลงทุนทั่วไปในตลาดใช้สำหรับการลงทุน ส่วนใหญ่แล้วนักวิเคราะห์ก็จะบอกว่าปีหน้าดัชนีตลาดหุ้นน่าจะขึ้น ขึ้นมากหรือน้อยเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะนักวิเคราะห์รวมถึงกูรูทั้งหลายนั้นต่างก็มักจะเป็นคนที่ “มองโลกในแง่ดี” และอาจจะมีแรงจูงใจที่จะชวนให้คนเข้าซื้อหุ้นผ่านบริษัทของตนหรืออยากให้คนมาซื้อหุ้นซึ่งทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นเป็นผลดีต่อทุกคนที่อยู่ในแวดวงตลาดหุ้น เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ถ้ามองยาว ๆ ย้อนไปในประวัติศาสตร์ก็จะพบว่าหุ้นมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นไปเรื่อย ๆ และให้ผลตอบแทนซึ่งส่วนใหญ่มาจากราคาหุ้นเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยถึงประมาณ 10% ต่อปีแบบทบต้น ดังนั้น...
ลงทุนแบบเฮดจ์ฟันด์
โลกในมุมมองของ Value Investor 14 กันยายน 62
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ผมมีเพื่อนนักลงทุนที่บริหารเฮดจ์ฟันด์คนหนึ่งชื่อ Petri Deryngหรือที่ผมและเพื่อนนักลงทุน VI ไทยกลุ่มหนึ่งเรียกว่าเพตทรี เขาบริหารกองทุนชื่อ PYN ELITE ซึ่งจดทะเบียนที่ฟินแลนด์ประเทศบ้านเกิดของเขา แต่กองทุนอีลิทฟันด์นั้น ตั้งแต่ตั้งกองทุนในปี 1999 ก็ลงทุนในต่างประเทศเป็นหลัก เริ่มจากตลาดหุ้นไทยที่ลงทุนนานถึงประมาณ 13-14 ปี และตามมาด้วยจีนและเวียตนามและล่าสุดเหลือแต่ที่เวียตนามซึ่งเขาลงทุนมา 6-7 ปีแล้ว ปีนี้เป็นปีครบรอบ 20 ปีของการก่อตั้งกองทุน และก็เป็นปีแห่งการ “เฉลิมฉลอง” ความสำเร็จในระดับต้น ๆ ของกองทุนอีลิทเทียบกับกองทุนในฟินแลนด์และยุโรป ผลงานการลงทุนนั้นสามารถทำได้ถึงประมาณ 18.2% ต่อปีแบบทบต้น หรือเท่ากับเงินลงทุนเริ่มต้นโตขึ้นถึงประมาณ...
ผมยังคงไป ลงทุนในเวียดนาม แน่นอน…..เล่นหุ้นกระจุก VS ลงทุนกระจาย…
โลกในมุมมองของ Value Investor 7 กันยายน 62
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เล่นหุ้นกระจุก VS ลงทุนกระจาย
คำถามสำคัญข้อหนึ่งที่นักลงทุนทุกคนจะต้องตอบให้ได้ ก่อนที่จะเริ่มต้นเข้ามาลงทุนอย่างจริงจังก็คือ เราจะลงทุนในทรัพย์สินประเภทไหน และอย่างละประมาณเท่าไร? นี่คือคำถามสำคัญ ข้อแรกที่จะบอกว่าเราจะมีความเสี่ยงแค่ไหน
โดยหลักการแล้ว ถ้าเราลงทุนในทรัพย์สินเพียงอย่างเดียวหรือน้อยอย่าง เช่น ลงทุนในหุ้นเพียงอย่างเดียว ความเสี่ยงก็จะสูงกว่าการลงทุนในหุ้นบวกกับพันธบัตร เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกัน โอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนก็อาจจะสูงกว่าด้วย สำหรับผมซึ่งเติบโตมาด้วยหุ้นและคิดว่าสามารถเลือกหุ้นลงทุนที่ปลอดภัยพอสมควร ผมเลือกที่จะลงทุนในหุ้นแทบจะอย่างเดียว ทรัพย์สินอื่นที่มีรวมทั้งหมดน่าจะไม่เกิน 5% ของความมั่งคั่งทั้งหมด นี่ไม่นับเงินสดที่บางครั้งก็มีมาก...
ผมก็ กระจายการลงทุน บางส่วนไปประเทศที่ยังไม่แก่เหมือนเมืองไทยเมื่อ20 ปีที่แล้ว
สังคมคนแก่กับการลงทุน โลกในมุมมองของValue Investor 31 สิงหาคม62
ดร.นิเวศน์เหมวชิรวรากร
ในฐานะของVI ที่เน้นการลงทุนระยะยาวนั้น สิ่งที่ผมจะต้องวิเคราะห์ก็คือภาพของประเทศ ผู้คน ภาวะทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ในตลาดหุ้นที่ผมจะลงทุนว่าจะเป็นอย่างไรในอนาคต สิ่งที่ผมจะต้องดูเป็นพิเศษก็คือ เศรษฐกิจจะโตขึ้นมากน้อยแค่ไหน บริษัทจะมีรายได้และกำไรมากขึ้นเท่าไรและบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมไหนจะดี และกลุ่มไหนจะแย่ในอีกซัก10 ปีข้างหน้าและต่อจากนั้น
สำหรับประเทศไทยและตลาดหุ้นไทยนั้น ช่วงที่ผมเริ่มลงทุน ในตลาดเต็มตัวเมื่อกว่า20 ปีโดยเฉพาะหลังภาวะวิกฤติเศรษฐกิจปี2540 นั้น ผมไม่ได้กังวลกับ“ภาพใหญ่” ของประเทศไทยเลยทั้งๆ ที่ดูเหมือนว่าประเทศไทย “กำลังล่มสลาย” และไม่รู้ว่าจะเอาตัวรอดได้อย่างไร ในยามที่เกือบทุกบริษัทมีหนี้สินล้นพ้นตัวและกำลังจะล้มละลาย เหตุผลคงเป็นเพราะว่าเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำลงมาอย่างหนักและการส่งออกสินค้าที่ถดถอยลงอย่างแรงผ่านไป มันก็เริ่มฟื้นตัวอย่างแรง การผลิตถูกขับเคลื่อนโดยการลงทุนสร้างโรงงานก่อนหน้านั้น บวกกับกำลังแรงงานที่มีเหลือเฟือและค่าแรงต่ำซึ่งทำให้การส่งออกของไทยมีความได้เปรียบในตลาดโลกและอานิสงค์จากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงไปมาก บวกกับความต้องการบริโภคของคนในประเทศที่กำลังพุ่งขึ้นอานิสงค์จากรายได้ที่สูงขึ้นและอัตราดอกเบี้ยที่ลดต่ำลงมากซึ่งทำให้คนชั้นกลางที่ไม่เคยเป็นหนี้หรือมีหนี้น้อยสามารถกู้เงินใช้จ่ายได้สูงกว่าปกติมาก ผลก็คือ เศรษฐกิจกลับมาเติบโตค่อนข้างแรงและบริษัทโดยเฉพาะที่เน้นการขายสินค้าแก่ผู้บริโภคภายในประเทศเติบโตขึ้นมหาศาล บริษัทเหล่านี้กลายเป็นหุ้นจดทะเบียนที่นำให้ดัชนีตลาดหุ้นเติบโตต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
แต่5-6 ปีที่ผ่านมานั้น ดูเหมือนว่าทุกๆ อย่างที่พูดถึงนั้นกำลังเปลี่ยนแปลงไป คนกลุ่มใหญ่มากในสังคมกลุ่มหนึ่งที่เกิดในยุคเบบี้บูมซึ่งรวมถึงผมเองนั้นเริ่มถึงเวลาเกษียณอายุคือ60 ปี ถ้าผมจำไม่ผิด เด็กที่เกิดในช่วงเวลานั้นน่าจะมีเกือบล้านคนต่อปีโดยเฉลี่ย เพื่อนๆรุ่นเดียวกับผมนั้นมักจะมีพี่น้องประมาณ5-6 คน ผมซึ่งมีพี่น้องเพียง3 คนนั้นถือว่าน้อยมาก ดังนั้น การที่พวกเขาบางคนเกษียณอายุจึงทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจชะลอตัวลงแม้ว่าจะมีคนรุ่นใหม่เติบโตขึ้นมาแทนที่ อย่างไรก็ตาม คนรุ่นใหม่ที่เกิดและจะเกิดมาแทนที่นั้น กำลังลดลงอย่างแรง จากปีหนึ่งเกิดล้านคนก็ลดลงเหลือปีละ700,000 คนและคงจะลดลงไปเรื่อยๆ อีกนาน ครอบครัวของคนไทยรุ่นใหม่นั้นมักจะต้องการมีลูกน้อยมาก เฉลี่ยประมาณ1.5 คนจำนวนมากบอกว่าไม่ต้องการมีลูกเลย ทั้งหมดนี้ทำให้ตัวเลขคนไทยที่เป็นแรงงานหรือทำงานนั้นเพิ่มขึ้นน้อยลงเรื่อยๆ และภายใน10 ปีก็จะลดลง ไทยกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมคนแก่แบบสมบูรณ์เหมือนอย่างที่ญี่ปุ่นเป็นมากว่า10-20 ปีแล้ว
ใน“สังคมคนแก่” อย่างที่ญี่ปุ่นหรืออีกหลายประเทศเป็นนั้น สิ่งที่เห็นก็คือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมักจะถดถอยลงอย่างช้าๆ แต่ต่อเนื่องเศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้นน่าจะแทบไม่โตเลยเป็นเวลาน่าจะเกิน20 ปีแล้ว เหตุผลนั้นชัดเจนเพราะว่าคนน้อยลงก็น่าจะผลิตน้อยลง เช่นเดียวกับที่คนแก่ตัวลงก็มักจะไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตได้มากนัก บางทีแค่ประคองให้มีประสิทธิภาพเท่าเดิมก็ทำได้ยากแล้ว ดังนั้น สำหรับไทยเอง ผมคิดว่าเราอาจจะไม่สามารถเติบโตทางเศรษฐกิจได้เร็วอย่างที่เคยเป็นมาอีกต่อไปแล้ว ห้าถึงหกปีที่ผ่านมาที่เราโตแค่3-4% ต่อปีโดยเฉลี่ยน่าจะเป็นสัญญาณว่าสังคมเราเริ่มแก่ตัวลง มันอาจจะไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของภาวะเศรษฐกิจโลกหรือปัญหาการเมืองหรืออะไรในประเทศไทยเลยก็ได้ และเมื่อเศรษฐกิจโตช้าลง—ในระยะยาว ตลาดหุ้นซึ่งเป็นตัวสะท้อนภาวะเศรษฐกิจเองนั้นก็มักจะเติบโตช้าตามกันไป ตัวอย่างจากญี่ปุ่นก็เห็นได้ชัดว่าดัชนีตลาดหุ้นนิเกอินั้น Sideway มาเป็นสิบๆปีและอยู่ที่ประมาณ20,000 จุดในช่วงเร็วๆ นี้และไม่เคยขึ้นไปแตะที่จุดสูงสุดตลอดกาลที่38,000 จุดที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ30 ปีมาแล้ว ดังนั้น สำหรับตลาดหุ้นไทยเอง ผมคิดว่าเราคงจะหวังให้ดัชนีตลาดหุ้นเติบโตสูงแบบเดิมคงเป็นไปได้ยาก
เรื่องของการลงทุนโดยเฉพาะการสร้างโรงงานผลิตสินค้านั้น ผมก็คิดว่าจะมีน้อยลงไปเรื่อยๆ ในระยะยาว เหตุผลก็คือ โรงงานโดยเฉพาะในประเทศไทยที่ไม่ได้มีเทคโนโลยีสูงนั้น จำเป็นต้องใช้คนมากและจะต้องมีค่าแรงต่ำเพื่อที่จะสามารถแข่งขันได้ แต่นี่คือสิ่งที่เราขาด ดังนั้น คนที่คิดว่าเราจะมีการขยายตัวของการลงทุนเพื่อการผลิตมากขึ้นและธุรกิจที่เกี่ยวข้องเช่น การผลิตสินค้าและนิคมอุตสาหกรรมจะเติบโตมากนั้นผมคิดว่าจะต้องคิดใหม่ จริงอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ นั้น การลงทุนก็อาจจะมากขึ้นได้ แต่ในระยะยาวแล้ว มันคงไปไม่ไหว ไทยไม่น่าจะสามารถเติบโตทางด้านการผลิตได้เร็วและมากอีกต่อไป
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการน่าจะเป็นทางออกสำหรับสังคมที่แก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว แต่ก็ไม่ใช่ทุกภาคส่วน จำนวนคนที่เกิดน้อยลงมากในช่วงก่อนหน้านี้จนถึงขณะนี้ก็ส่งผลอย่างเห็นได้ชัดแล้วเช่นเรื่องของการศึกษา ซึ่งเราได้เห็นการปิดตัวของโรงเรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึงระดับมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง ที่ยังไม่ปิดก็อยู่อย่างยากลำบากขึ้นเรื่อยๆ และน่าจะถึงจุดใกล้วิกฤติโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชน โชคดีที่การท่องเที่ยวของไทยนั้นเติบโตดีอานิสงค์จากการท่องเที่ยวของคนจีนและอินเดียที่อยู่ใกล้ ทำให้ภาคการท่องเที่ยวจะเป็นภาคที่เติบโตเพื่อที่จะรองรับสังคมของคนที่แก่ตัวมากขึ้น นี่ก็คงคล้ายๆกับญี่ปุ่นที่ขณะนี้ต้องอาศัยการท่องเที่ยวมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจของตนจากที่ในอดีตนั้นค่อนข้าง“ปิด” ไม่ยอมให้ใครเข้าไป “วุ่นวาย” ในประเทศ
อสังหาริมทรัพย์จะเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่โตอีกต่อไปในยามที่จำนวนคนเพิ่มน้อยหรือลดลง ความต้องการที่ลดลงบวกกับ“สต็อก” ของบ้านที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากบ้านนั้นสร้างเสร็จแล้วก็สามารถอยู่ได้เป็นหลายๆ สิบปี ดังนั้น ถ้าเราเห็นอสังหาริมทรัพย์ซบเซาลงช่วงนี้ก็อย่าไปหวังว่ามันจะ“ฟื้นขึ้นแรง” ในปีต่อๆ ไป มันอาจจะถึงจุดที่ค่อยๆ ลดลงอย่างช้าๆ ตลอดไปแล้วก็ได้ และนี่ก็อาจจะรวมไปถึงห้างร้านและช็อปปิ้งมอลทั้งหลายที่ต้องอาศัยคนเข้าไปจับจ่ายซื้อสินค้า ซึ่งถ้าคนที่มีเงินและพร้อมจับจ่ายสินค้ามีน้อยลงเพราะคนแก่ตัวลงและคนเกิดใหม่มีน้อยลง การเติบโตของร้านค้าเหล่านั้นก็จะถึงจุดที่ค่อยๆ ลดลงตลอดไป แน่นอนว่าคนที่เข้าห้างบางส่วนก็อาจจะเป็นนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้น แต่ที่จะสามารถทดแทนคนในประเทศเองนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย อาจจะยกเว้นก็คือร้านค้าที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้จริงๆที่อาจจะยังอยู่ไปได้เรื่อยๆ ตราบที่การท่องเที่ยวของเรายังดีอยู่
เรื่องของInnovation หรือการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ หรือความคิดใหม่ๆ ต่างๆ ที่เราเชื่อกันว่าจะเป็นสิ่งที่นำเราให้พัฒนาก้าวหน้าต่อไปในทางเศรษฐกิจเองนั้น ผมก็คิดว่าทำได้ไม่ง่ายเนื่องจากจำนวนคนรุ่นหนุ่มสาวที่จะเป็นผู้นำทางด้านการคิดค้นและทำธุรกิจStartup มีน้อยลง แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าอาจจะเป็นเรื่องของวัฒนธรรมของสังคมที่ยังถูกครอบงำโดยความคิดของคนรุ่นก่อนที่มีจำนวนมากและยังเป็นผู้นำทางสังคมและการเมืองอยู่ ซึ่งทำให้สังคมไทยยังเป็นสังคมอนุรักษ์นิยมสูง คนไม่ค่อยกล้าที่จะคิดนอกกรอบในขณะที่ขนบธรรมเนียมดั้งเดิมจะได้รับการส่งเสริม ผลก็คือ ความคิดสร้างสรรค์และความกล้าที่จะทำสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นน้อย และนั่นอาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้เรายังไม่มีสตาร์ทอัพที่เป็น“ยูนิคอร์น” เลย ทั้งๆที่ระดับการพัฒนาและขนาดเศรษฐกิจของไทยนั้นอยู่เหนือกว่าอีกหลายๆ ประเทศหลักในอาเซียน และนี่ก็ทำให้ผมนึกถึงญี่ปุ่นที่ไม่ได้สร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ มานานมากหลังจากยุค“วอล์คแมน” ของโซนี่ทั้งๆที่เป็นประเทศยิ่งใหญ่อันดับ2 และ3 ของโลกมานาน
ทั้งหมดนั้นก็คือปัญหาของความแก่ซึ่งผมเองก็ยังไม่รู้ว่าจะแก้ได้อย่างไร ในด้านของส่วนตัวเองนั้น สิ่งที่ทำก็คือการพยายามรักษาสุขภาพและหาวิธี“ลดอายุ” ในส่วนของการลงทุนเองนั้น ผมก็กระจายการลงทุนบางส่วนไปประเทศที่ยังไม่แก่และอยู่ในวัยฉกรรจ์และกำลังเติบโตเหมือนเมืองไทยเมื่อ20 ปีที่แล้ว .....
————————————-
สนใจ กระจายการลงทุน บางส่วนไปประเทศที่ยังไม่แก่และอยู่ในวัยฉกรรจ์และกำลังเติบโตเหมือนเมืองไทยเมื่อ20 ปีที่แล้ว อ่านต่อ
นักลงทุนสนใจหุ้นกลุ่มไหนในประเทศเวียดนาม
เศรษฐกิจเวียดนามดีฝ่าปัจจัยบาทแข็งไหวไหม
ทริปสัมมนา TOUR LEARN EARN MORE IN HO CHI MINH
คนที่ “จับจังหวะ” ว่าจะเข้าซื้อหุ้นเมื่อราคาหุ้นหรือดัชนีลดลงมานั้น บ่อยครั้งก็มักพลาด คือเข้าไปซื้อหุ้น “เร็วเกินไป”
โลกในมุมมองของ Value Investor 28 กรกฎาคม 62
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
The Postman Always Ring Twice
ปรากฏการณ์ที่หุ้น “นางฟ้า” ขนาดเล็ก-กลาง ที่เคยร้อนแรงราคาพุ่งขึ้นเป็นหลาย ๆ เท่าตัวในเวลาไม่นานแต่แล้วก็ตกลงมาอย่างหนักเกินกว่า 50% หรือบางตัวกลับมาที่ราคาเดิมและกลายเป็น “นางฟ้าตกสวรรค์” จนคนหลายคน “เลิกเล่น” หรือ “สาปส่ง” ไปเลยทำให้หุ้นเหงาไปพักใหญ่ แต่แล้วในช่วงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์มานี้ หุ้นหลายตัวในกลุ่มก็เริ่มกลับมาคึกคักใหม่ ราคาปรับตัวขึ้นอย่างแรงพร้อมกับปริมาณซื้อขายที่คึกคัก ดูเหมือนว่าคนที่เคยเล่นทั้ง “ขาเล็ก” และ “ขาใหญ่” กำลังกลับมา สตอรี่และการเติบโตของบริษัทที่เคยขายได้ในช่วงก่อนหน้านั้นที่ถูกทำลายโดยผลประกอบการที่น่าผิดหวังกำลังถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ ประกอบกับผลประกอบการที่น่าจะ “ดีขึ้น” ในไตรมาศล่าสุด น่าจะเป็นแรงกระตุ้นที่อาจจะทำให้หุ้นกลับมาเป็น “นางฟ้า” ใหม่ ทั้งหมดนั้นอยู่ภายใต้ Background ของตลาดหุ้นที่ดีขึ้น ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น และนักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้าตลาดหุ้นไทยหลังการเลือกตั้งที่รอคอยกันมานาน
นั่นทำให้ผมนึกถึงภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่เคยดูตอนไปเรียนที่อเมริกาใหม่...
หุ้นโรงไฟฟ้า ซึ่งในระยะหลัง ๆ นี้ก็กลายเป็นกลุ่มหุ้นที่มีความโดดเด่นมากขึ้นเรื่อย ๆ เหตุผลก็คงเป็นเพราะว่าราคาของหุ้นกลุ่มนี้มีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วจนแทบจะกลายเป็น “หุ้นนางฟ้า”
หุ้นโรงไฟฟ้า
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โลกในมุมมองของ Value Investor
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ หุ้นที่มีจำนวนมากขึ้นและมี Market Cap. ขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ไทยก็คือหุ้นที่ผลิตไฟฟ้าจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าและผู้ใช้ทั้งในและต่างประเทศ ผมจะเรียกง่าย...
Libra: เงินใหม่ในฝัน
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
การประกาศของ Facebook ที่จะสร้างเงินดิจิตอลชื่อ Libra และนำออกใช้ในต้นปีหน้านั้นเป็นเรื่องที่ทำให้โลก “ตะลึง” คนจำนวนมากเชื่อว่า Libra จะประสบความสำเร็จและจะเป็นการ “ปฏิวัติโลกการเงิน” ที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง จริงอยู่ว่าคนตะลึงมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อ Bitcoin ซึ่งเป็นเงินดิจิตอลรุ่นแรกที่สร้างขึ้นโดยคนที่ชื่อ “ซาโตชิ นากาโมโต” ถูก “ปั่น” ขึ้นมาจนมีราคาสูงมโหฬารซึ่งทำให้คนสนใจเข้ามาเรียนรู้ศึกษากันทั่วโลก คนจำนวนมากคิดว่าในที่สุด Bitcoin จะกลายเป็นเงินสกุลใหม่ที่จะมีการใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะมันสามารถลดต้นทุนในการดำเนินการเช่นการโอนเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางที่มีต้นทุนสูงเช่นระบบแบ้งค์...
ลงทุนในหุ้นตลอดชีวิต
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนทบต้นนั้น ไอน์สไตน์(อีกแระ) บอกว่าเป็น “สิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก” เพราะเมื่อเงินทองหรือหุ้นให้ผลตอบแทนเป็นบวกในปีนี้ ถ้าเราเอาผลตอบแทนที่ได้ไปทบกับเงินต้นในตอนต้นปี ปีหน้าเงินต้นก็จะเพิ่มขึ้น เช่น ถ้าผลตอบแทนเท่ากับ 10% ต่อปี เงินต้นของปีต่อไปก็กลายเป็น 110 บาทจากเดิม 100 บาท และถ้าเราได้ผลตอบแทนปีที่สองอีก 10% จากเงินต้น 110...
กลับไปทำงานประจำ
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หลาย ๆ ปีก่อนในช่วงที่ตลาดหุ้นยังปรับตัวขึ้นเป็น “กระทิง” ต่อเนื่องยาวนานนั้น เรามักพบนักลงทุนโดยเฉพาะที่ยังหนุ่มแน่นอายุไม่มากเช่น 30-40 ปีหลาย ๆ คนลาออกจากงานประจำและหันมาลงทุนเต็มตัว บางคนมีเงินก้อนหนึ่งอาจจะแค่ 2-3 ล้านบาทซึ่งเขา “คิด” ว่าสามารถทำเงินแต่ละเดือนจากการเล่นหุ้นได้ 40,000-50,000 บาท ซึ่งมากพอที่จะ “เลี้ยงชีพ” ได้ ดังนั้นเขาจึงลาออกจากงานประจำเงินเดือนน้อยนิดและน่าเบื่อเพื่อเน้นเล่นหุ้นที่จะ “ได้กำไรดีขึ้น”...
ลงทุนในยุคเศรษฐกิจโตช้า
โลกในมุมมองของ Value Investor 1 มิถุนายน 62
ลงทุนในยุคเศรษฐกิจโตช้า
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
มองย้อนหลังไปประมาณ 6 ปี ในช่วงกลางปี 2556 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 1,600 จุด แทบจะไม่ต่างจากดัชนีวันนี้ที่ประมาณ 1,620 จุด นี่คือช่วงเวลา 6 ปีที่น่าจะพูดได้ว่าตลาดหุ้นเป็น Sideway คือราคาหุ้นโดยรวมไม่ได้ปรับตัวขึ้นหรือลดลงเป็นเรื่องเป็นราวเป็นระยะเวลายาวนาน สำหรับนักลงทุนที่มักจะมองภาพเล็กในหุ้นรายตัวหรืออาจจะเป็นกลุ่มและเป็นนักลงทุนระยะยาวก็จะเห็นว่าหุ้นตัวหลัก...