หน้าแรก แท็ก ดร.นิเวศน์

แท็ก: ดร.นิเวศน์

คิดอย่างไรไม่ลำเอียง

0
โลกในมุมมองของ Value Investor     19 มิถุนายน 64 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร  ในโลกปัจจุบันที่ “ต้นทุนในการสื่อสาร” ลดลงมาต่ำมากจนแทบเป็นศูนย์  เราก็ได้เห็น  Content หรือข้อมูลข่าวสารถูกส่งออกไปมากมายมหาศาลจน “รับไม่ไหว”  บางเรื่องก็เป็นเรื่องจริง  จำนวนพอ ๆ  กันก็เป็นเรื่องไม่จริงหรือที่เราเรียกว่า “Fake News”แต่ที่จริงแล้วคนที่ส่งออกไปก็ไม่รู้ว่าข่าวต่าง ๆ  นั้นจริงหรือไม่  ถ้าเขาชอบข่าวหรือข้อมูลนั้น  เขาก็เพียงแต่ส่งมันต่อไป  เพื่อที่จะให้คนอื่นรู้และเห็นด้วย ...

สรุปเรื่องวัคซีนในเวียดนาม และมุมมองเรื่องเวียดนามฉีดวัคซีนช้า

0
เพื่อให้เห็นภาพชัดขอเปรียบเทียบสถานการณ์โควิด 19 ระหว่าง เวียดนาม VS ไทย ดังนี้ค่ะ จำนวนผู้ติดเชื้อ   ไทย 199,264  คน : เวียดนาม 10,730 คน  จำนวนผู้เสียเสียชีวิต  ไทย 1,466  คน : เวียดนาม 59 คน  จำนวนผู้ตรวจเชื้อ  ไทย 8,124,896  คน : เวียดนาม 6,282,417...

ตลาดหุ้นเวียดนามทำจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์น่ากลัวไหม?

0
จาก ไลฟ์! Update กลยุทธ์หุ้นเวียดนาม หลัง All time High  ในเพจ VVI คุณบิว: ตลาดหุ้นเวียดนามเพิ่งทำจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์ ท่ามกลางความผันผวนของทั่วโลก แบบนี้น่ากลัวไหม อาจารย์มองทิศทางเวียดนามอย่างไรคะ? ดร.นิเวศน์: ผมกลับคิดว่าไม่น่ากลัวแบบประเทศอื่นที่ขึ้นแรงๆ เพราะไฮเทค " เวียดนามเป็น Old Tech ของที่อื่น แต่เป็น New Economy ของเค้า" ที่ขึ้นมานี้ก็มี...

ปรากฏการณ์ใหม่ไม่เคยเจอ

0
https://youtu.be/vR_iDc5G2S8 พิเศษสำหรับผู้สมัครสัมมนาชมย้อนหลัง- คลิป VDO สัมมนาคนลงทุนหุ้นเวียดนาม 62 และปีก่อนที่ไม่เคยเผยแพร่มาก่อน- บทความ/คลิปไอเดียลงทุนของวิทยากรสุดว้าว- ไลฟ์ชวนคุยกับกูรูทั้งในและต่างประเทศ เริ่มศึกษาเรียนรู้ได้ทันทีเดี๋ยวนี้ใน Facebook กลุ่มปิด! ปรับทัพลงทุนหุ้นเวียดนาม อเมริกา จีน เท่านั้น  สมัครดูสัมมนาย้อนหลังได้ที่:https://bit.ly/316AyPXสอบถามเพิ่มเติม line: @vietnamvi หรือ Inbox มาที่  facebook.com/vvinvestor

วิธีเลือกตลาดหุ้นลงทุน

0
โลกในมุมมองของ Value Investor   6 มีนาคม 64 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ด้วยโลกของการลงทุนที่เปิดกว้างขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนสำหรับนักลงทุนไทย  ประกอบกับการที่ตลาดหุ้นไทยมีผลงานการลงทุนที่ “ย่ำแย่” คือแทบไม่ให้ผลตอบแทนเลยมาเป็นเวลา 7-8 ปีแล้ว  การเคลื่อนย้ายเม็ดเงินลงทุนไปยังตลาดอื่น ๆ  ทั่วโลกจึงเป็นสิ่งที่มีเหตุผลและนักลงทุนจำนวนไม่น้อยก็ได้เริ่มออกไปลงทุน  หลาย ๆ  คนได้ผลตอบแทนที่ดีมากในช่วงเร็ว ๆ  นี้  อย่างไรก็ตาม  มีคำถามว่าตลาดหุ้นที่ไปลงนั้น  จะดีต่อไปอย่างยั่งยืนหรือเปล่า ...

Bitcoin = Digital Gold

0
โลกในมุมมองของ Value Investor  13 กุมภาพันธ์ 64 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร โลกในมุมมองของ Value Investor      13 กุมภาพันธ์ 64 การซื้อบิทคอยน์จำนวน 1.5 พันล้านเหรียญและการประกาศว่าเทสลาจะรับบิทคอยน์เป็นค่าซื้อรถเทสลาของ อีลอน มัสก์ เมื่อสัปดาห์ก่อนนั้น ต้องถือว่าเป็น  “ข่าวใหญ่” ในแวดวงธุรกิจ การเงินและการลงทุน  หลังจากที่ข่าวออกไปในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 64 ราคาบิทคอยน์ก็ปรับตัวขึ้นถึง 19% เป็นประมาณ 1.4 ล้านบาทไทยและสูงที่สุดในประวัติศาสตร์  ทำให้มูลค่าทั้งหมดหรือ Market Cap. ของบิทคอยน์เท่ากับประมาณ...

การกระจายตลาด เช่นถือหุ้นต่างประเทศด้วยก็อาจจะเป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคนี้

0
Survivor โลกในมุมมองของ Value Investor   7 พฤศจิกายน 63 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร Survivor ​คนที่เป็น VI นั้น  ผมคิดว่าน่าจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งนั่นก็คือ  เขาเป็น  “Survivor” หรือคนที่สามารถ “เอาตัวรอด” ได้ใน  “สถานการณ์ที่ยากลำบาก”  อย่างเช่นในเรื่องของการลงทุนในปัจจุบันนั้น  ถ้าใครที่พอร์ตลงทุนโดยรวมขาดทุนหรือเสียหายไม่เกิน 20-25% และไม่ได้ทำให้ “ชีวิต” เปลี่ยนแปลงไปมาก  ก็ต้องถือว่ายังเป็น Survivor  เหตุผลก็เพราะเศรษฐกิจไทยตกอยู่ในช่วงภาวะ “วิกฤติ”ตลาดหุ้นเองก็เคยตกลงมาหนักกว่า 30% ในช่วงแรก  และแม้แต่ในช่วงล่าสุดก็ยังตกลงมากว่า 20% จากต้นปี  อย่างไรก็ตาม  นี่ก็ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเขาจะยังอยู่รอดได้ไปถึงสิ้นปีหรือในอนาคตข้างหน้าสำหรับวิกฤติรอบนี้  เหตุผลก็เพราะ  วิกฤติรอบนี้ก็ยังไม่จบ  ดัชนีตลาดหุ้นไทยเองก็ยังไม่ได้ฟื้นตัวและกลับทิศไปแน่นอนแล้วอย่างที่อาจจะเกิดขึ้นในตลาดหุ้นที่ก้าวหน้ากว่าอย่างสหรัฐหรือจีนหรือตลาดหุ้นที่ด้อยกว่าอย่างตลาดหุ้นเวียตนาม ​ในความคิดของผม  คำว่า Survivor ในเรื่องของการลงทุนนั้น  เป็นเรื่อง “ระยะยาว” ที่คน ๆ...

Super Stock ใน 10 ปีข้างหน้า

0
โลกในมุมมองของ Value Investor      19 กันยายน 63 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ​เมื่อประมาณเกือบ 20 ปีที่แล้วในตลาดหุ้นไทย มีนักลงทุนกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่าเป็น Value Investor ก่อกำเนิดขึ้น  พวกเขาเป็นนักลงทุน “หน้าใหม่” ในตลาดหุ้น  ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นนักลงทุน “รายย่อย” และเป็น  “คนกินเงินเดือน” ที่มีรายได้ค่อนข้างดีเนื่องจากจบการศึกษาสูง  หลายคนเรียนจบจากต่างประเทศและมีตำแหน่งหน้าที่การงานในบริษัทชั้นนำของประเทศหรือบริษัทข้ามชาติ  และก็แน่นอนว่าบางคนก็มีฐานะทางบ้านที่ดีหรือดีมากและเป็นนักธุรกิจอยู่แล้ว  แต่สิ่งที่เหมือนกันหมดก็คือทุกคนมีความมุ่งมั่นในการลงทุนโดยเฉพาะในตลาดหุ้นตามแนวทางการลงทุนของ “VI”อย่างที่เรียกกันในปัจจุบันนั่นก็คือ  การมองว่าหุ้นก็คือธุรกิจและเราสามารถประเมินมูลค่าของมันได้  และจะซื้อก็ต่อเมื่อมูลค่านั้นสูงกว่าราคาหุ้นมากพออย่างที่เรียกว่ามี Margin of Safetyสูง และจะขายต่อเมื่อราคาหุ้นสูงเกินพื้นฐานหรือ “มูลค่าที่แท้จริง” นั้น ​ผมคงไม่ต้องพูดว่า VI กลุ่มนั้นต่างก็ทำผลงานการลงทุนได้ดีเยี่ยม  หลายคนเป็นเศรษฐีหรือมหาเศรษฐี  ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่น่าเชื่อ  คนที่เคยกินเงินเดือนต่างก็ “เกษียณตัวเอง” ตั้งแต่อายุยังน้อยและกลายเป็นนักลงทุนเต็มตัวจนถึงวันนี้  แต่ VI “รุ่นใหม่” ที่เพิ่งจะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยไม่เกิน 6-7 ปีนั้น...

Fair Company at Wonderful Price

0
โลกในมุมมองของ Value Investor  12 ก.ย. 63 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ​เมื่อเร็ว ๆ นี้มีข่าวว่าบัฟเฟตต์ได้เข้าซื้อหุ้นในตลาดหุ้นของญี่ปุ่นพร้อมกัน 5 ตัวคือ หุ้นอิโตชู มารูเบนนี มิตซูบิชิ มิตซุยและสุมิโตโม ทั้ง 5 บริษัทเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านการค้าของญี่ปุ่นที่ก่อตั้งมานานเฉลี่ยแล้วน่าจะเป็นหลัก100 ปีขึ้นไป ตั้งแต่ญี่ปุ่นเริ่มพัฒนาเป็นประเทศสมัยใหม่จนถึงปัจจุบันที่กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วและเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก  ทั้งหมดนี้  แม้ว่าจะเป็นบริษัท  “ยุคเก่า” แต่ก็ยังเป็นบริษัท “ยักษ์ใหญ่” ที่มียอดขายมากกว่าปีละ 1 ล้านล้านบาท  และครอบคลุมการค้าขายระหว่างประเทศของญี่ปุ่นเกือบทั้งหมดและก็ยังน่าจะเป็นอย่างนั้นต่อไปตราบที่ญี่ปุ่นยังเป็นเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ของโลกอยู่โดยที่เทคโนโลยี่ดิจิตอลไม่สามารถที่จะทำลายมันได้ ​ลักษณะการซื้อของบัฟเฟตต์ในครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะแตกต่างจากที่เคยทำมาตลอดในชีวิตการลงทุนของเขานั่นก็คือ  เป็นการ “กวาดซื้อ” หุ้นหลาย ๆ  ตัวที่มีคุณสมบัติเกือบจะเหมือนกันหมดนั่นก็คือมันเป็นหุ้นที่ “ถูกมาก” และเป็น  “ตัวแทน” ของบริษัทหรือเศรษฐกิจญี่ปุ่น...

สัญญาณเศรษฐกิจถดถอย

0
โลกในมุมมองของ Value Investor          22 สิงหาคม 63 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เมื่อสองสามวันก่อนผมได้เริ่มขับรถส่วนตัวไปร่วมสังสรรค์กับเพื่อนกลุ่มนักลงทุน VI ในช่วงเย็นอีกครั้งหลังจากหยุดกิจกรรมที่เคยทำทุกไตรมาศมานานนับสิบปีหลังจากที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเมื่อ 5-6 เดือนก่อน  ผมเองไม่ได้ขับรถช่วงเย็นที่เป็นช่วงเร่งด่วนแบบนี้มานานแต่ก็จำได้ว่าในอดีตนั้น  เส้นทางที่ผมใช้คือทางด่วนที่ลงถนนพระราม 4 แถวคลองเตยแล้ววิ่งตรงไปทางกล้วยน้ำไทยนั้น  เป็นช่วงที่รถติดหนักมาก  แต่การขับรถครั้งนี้ปรากฏว่ารถกลับไม่ติดเลยแม้ว่าจำนวนรถอาจจะยังมากอยู่  ในความรู้สึกของผมก็คือ  หลังจากโควิด19ในประเทศไทยสงบลงและเราเปิดธุรกิจในประเทศเกือบทั้งหมดแล้ว  กิจกรรมของคนที่ต้องเดินทางประจำวันน้อยลงจนเห็นได้ชัดจากการจราจร จริงอยู่  บางคนอาจจะบ่นว่ารถกลับมา “ติดเหมือนเดิมแล้ว” แต่นั่นคงเป็นบางจุดหรือถนนบางสายและก็อาจจะเป็นบางช่วงเวลา  ตัวอย่างเช่นในวันหยุดยาวที่คนเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดในบางเส้นทาง  หรือในถนนบางสายเช่นแถวศรีนครินทร์ที่มีการสร้างรถไฟฟ้า เป็นต้น  แต่เส้นทางที่ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงเช่นเส้นทางในศูนย์กลางของกรุงเทพ  ผมคิดว่ารถน้อยลงชัดเจน  ตัวอย่างที่ผมเห็นทุกวันก็คือถนนรางน้ำหน้าบ้านผมที่เคยเป็นแหล่งพักของนักท่องเที่ยวชาวจีน  ที่ตอนนี้ “โล่งตลอด”  นี่ก็เป็นสัญญาณสำคัญที่บอกว่าเศรษฐกิจของไทยกำลังถดถอยลง “อย่างแรง” จำนวนคนเดินห้างก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บอกว่าเศรษฐกิจกำลังซบเซา    หลายคนอาจจะเถียงว่าห้างใหญ่หลาย ๆ แห่งโดยเฉพาะที่อยู่ที่ “ขอบของกรุงเทพ” ที่ตนเองเดินประจำนั้น  คนก็กลับมา “เหมือนเดิม” แล้ว  หาที่จอดรถไม่ได้และ “คนแน่นยังกับแจกฟรี”  แต่นั่นก็อาจจะเป็น “ความรู้สึก” ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ห้างเหงามานานและก็อาจจะเป็นเฉพาะในวันหยุด  วันธรรมดาที่เขาไม่ได้ไปนั้นคนอาจจะว่างมาก   ผมเองเดินและจ่ายตลาดห้างหรูแถวสยามที่เป็นแหล่งสำคัญของนักท่องเที่ยวต่างประเทศแทบทุกสัปดาห์  ผมยืนยันว่าห้างยังเหงามีคนเดินน้อยกว่าเดิมมาก ซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ผมจ่ายสินค้าประจำวันนั้น  ในอดีตจะมีคิวจ่ายเงินยาว  เดี๋ยวนี้บางวันแทบไม่มีคิวเลย  นี่ก็เป็นสัญญาณว่าคนไทยน่าจะใช้จ่ายน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะในสินค้าที่ไม่จำเป็นและ/หรือสินค้าที่ใช้จ่ายโดยนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ที่น่าประหลาดใจเล็กน้อยที่ผมเห็นก็คือ  สินค้าหรูหราและมีราคาสูงมากอย่างเช่น  ร้านที่ขายสินค้าเครื่องแต่งกาย“ซุปเปอร์แบรนด์” หลายร้านนั้นมีคน “เข้าคิว”  รอเข้าไปชมและซื้อสินค้าอย่างที่เคยเกิดขึ้นในช่วงก่อนโควิด19 แล้ว ราคาสินค้าของร้านเหล่านี้ไม่ได้มีการ “ลดราคากระหน่ำ” เพื่อเรียกลูกค้า  ว่าที่จริงบางร้าน  “ขึ้นราคา” สินค้าที่เคยขายด้วยซ้ำ  นี่ทำให้ผมสรุปว่า  คนที่มีฐานะมั่งคั่งสูงในสังคมไทยนั้น  ไม่ได้ถูกกระทบมากจนต้องลดการใช้จ่ายลงเลย พวกเขาใช้จ่ายเหมือนเดิม  และตอนนี้เนื่องจากว่าไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้  เขาจึงใช้จ่ายในประเทศไทยแทน  และนี่ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกันในต่างประเทศ  ตัวอย่างเช่นในจีนที่ตอนนี้มีข่าวออกมาแล้วว่าสินค้าซุปเปอร์แบรนด์ขายดีขึ้นมากกว่าเดิมก่อนโควิด19 ด้วยซ้ำ นอกจากเรื่องของสินค้าเครื่องแต่งกายหรูแล้ว  บ้านหรูในช่วงหลังโควิดก็ดูเหมือนว่าจะขายดีขึ้นโดยเปรียบเทียบกับบ้านที่ขายคนส่วนใหญ่ทั่วไป  ว่าที่จริงแม้แต่ในช่วงที่ยังปิดเมืองกันอยู่ก็มีสัญญาณแล้วว่าคนมาดูและซื้อบ้านหรูมากขึ้น  นั่นแสดงว่าคน “ซุปเปอร์ริช” หรือคนรวยจัดนั้นไม่ได้ถูกระทบมากจากวิกฤติและยังซื้อสินค้าหรูและมีราคาแพงเหมือนเดิม  นี่ก็พอจะเห็นได้จากการที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ขายบ้านหรูทำผลงานในไตรมาศ 2ได้ดีกว่าบริษัทที่เน้นบ้านราคาต่ำหรือระดับกลางที่ถูกกระทบอย่างแรง บ้านมวลชนนั้นอาจจะขายได้น้อยลง  แต่ธุรกิจพวกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างหลายแห่งอาจจะคุยว่ายอดขายไม่ตกในช่วงปิดโควิด  นี่อาจจะเป็นเรื่องจริง  แต่ก็ต้องระวังว่าสินค้าเหล่านี้มี Lag Time หรือเป็นสินค้าที่เมื่อเศรษฐกิจวิกฤติทันทีนั้น ความต้องการของสินค้ายังมีอยู่เหมือนเดิมเนื่องจากบ้านที่เริ่มสร้างแล้วก็จะต้องสร้างต่อไปจนจบถ้าเจ้าของยังมีกำลังอยู่  ผมเองก็กำลังสร้างเหมือนกันและพบว่างานก่อสร้างนั้นไม่เคยหยุดเลยในช่วงโควิด19  ดูเหมือนว่ามันจะเร็วขึ้นด้วยซ้ำเพราะคนงานไม่ขาดเหมือนในช่วงปกติ  สิ่งที่ต้องระวังก็คือ  หลังจากนี้เมื่องานเริ่มเสร็จ  และงานใหม่ก็ไม่เข้ามาเนื่องจากความต้องการบ้านหรืออาคารต่าง ๆ น้อยลง  ธุรกิจก่อสร้างก็อาจจะเห็นยอดขายหดตัวอย่างแรงได้ การตกต่ำลงของเศรษฐกิจนั้น  ผมคิดว่าสาเหตุหลักก็มาจากการที่ธุรกิจท่องเที่ยว  การเดินทางและกิจกรรมที่คนต้องเข้ามาอยู่ใกล้ชิดกันต้องหยุดลงเกือบจะสิ้นเชิง  นั่นทำให้คนจำนวนมากนับล้าน ๆ คนต้องตกงานทันที  พวกเขาต้องลดการบริโภคลง  ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นมากที่สุดในช่วงไตรมาศ 2 และเราต่างก็คิดว่าหลังจากนั้นเศรษฐกิจก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว  ไตรมาศ 2 น่าจะต่ำสุดและช่วงต่อจากนี้ความเจ็บปวดก็น่าจะน้อยลง  อย่างไรก็ตาม  ผมก็ค่อนข้างประหลาดใจเมื่อได้ข่าวว่าลูกสาวเพื่อนที่ทำงานเป็นแอร์โฮสเตทของสายการบินระดับท็อป ๆ ของโลกแห่งหนึ่งถูกปลดแบบ  “ฟ้าผ่า” หลังจากที่หยุดไม่ได้ทำงานมาหลายเดือนแล้วและกำลังหวังว่าจะกลับไปทำงานเนื่องจากสายการบินเริ่มจะกลับมาบินใหม่ในบางเส้นทาง  เหตุการณ์นี้ทำให้ผมคิดว่า  ในช่วงไตรมาศ 2 นั้น  บริษัทหรือธุรกิจบางแห่งก็ยังพยายามรักษาคนงานไว้  แต่พอถึงวันนี้เขาก็รับกับค่าใช้จ่ายไม่ไหวและต้องปลดคนออกไป  ช่วงเวลาเดียวกันรัฐบาลก็ช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายแก่คนจำนวนมากเดือนละ 5,000 บาทจนสิ้นเดือนสิงหาคม  ในอีกด้านหนึ่งแบ้งค์ชาติก็ยอมให้ลูกหนี้จำนวนมากพักการชำระเงินจนถึงเดือนกันยายน  ทั้งหมดนี้ถ้าไม่ได้รับการต่ออายุอะไรจะเกิดขึ้น?  ผมเองคิดว่าเศรษฐกิจคงไม่เลวร้ายลงกว่าไตรมาศ 2  แต่จะดีขึ้นอย่างรวดเร็วผมก็ยังสงสัย กลับมาเรื่องของการลงทุนบ้าง  ในที่ประชุมสังสรรค์เพื่อน VI นั้น  ทุกครั้งเราก็จะมีการ  “เลือกหุ้น” ที่จะทำผลงานได้ดีใน 3 เดือนข้างหน้า  โดยที่ทุกคนจะต้องเลือกหุ้นที่ตนเองชอบ  ส่วนใหญ่ก็คนละ 2-3 ตัว  พอพบกันอีกในไตรมาศหน้าก็จะมาดูว่าใครได้ผลตอบแทนเท่าไร นี่ก็เป็นกิจกรรมเล่น ๆ ที่ไม่ได้ซีเรียสหรือแข่งขันอะไรกันแต่ทุกคนก็มักจะเลือกในสิ่งที่ตนเองลงทุนจริง ๆ  อยู่แล้ว  ผลการเลือกในครั้งนี้มีการเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดจากครั้งหลัง ๆ นั่นก็คือ  ในช่วงน่าจะ 2-3 ปีมาแล้ว  VI กลุ่มนี้มักจะเลือกหุ้นเวียตนามมากกว่าหุ้นไทย  หุ้นไทยที่ถูกเลือกนั้นน้อยลงมาก  ส่วนหนึ่งเพราะพวกเขาได้หันไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียตนามมากขึ้น  บางคนโดยเฉพาะที่เป็นชาวต่างชาตินั้นไม่ได้ลงทุนในตลาดหุ้นไทยอีกแล้ว  แต่ในครั้งนี้ปรากฏว่าจำนวนหุ้นที่ถูกเลือกกลับกลายเป็นหุ้นไทยเป็นส่วนใหญ่  นี่ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าโควิดน่าจะทำให้หุ้นไทยบางกลุ่มหรือบางตัวมีความน่าสนใจมากขึ้นจน VI บางคนที่เคยทิ้งตลาดไปนั้นหันกลับมาลงทุนมากขึ้น ความสนใจในหุ้นของคนไทยเองนั้น  ผมคิดว่าเกิดขึ้นกับคนทั่วไปด้วยเห็นได้จากจำนวนนักลงทุนหน้าใหม่ที่เพิ่มขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัดในช่วงโควิด19  นี่ก็เป็นอะไรที่แปลกเหมือนกัน  เหตุผลนั้นผมคิดว่า  ประการแรก  เป็นเพราะคนที่มีฐานะดีและมีเงินสดอยู่มากนั้นไม่ได้ถูกกระทบจากโควิด  พวกเขาคิดว่าการลงทุนในตลาดหุ้นที่ตกลงมานั้นเป็นโอกาสงดงามที่จะทำกำไรอย่างง่าย ๆ  เมื่อเทียบกับการฝากเงินที่ให้ผลตอบแทนต่ำมาก  ประการต่อมาก็คือ  พวกเขาคิดว่าผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่จะถูกกระทบนั้น  น่าจะเกิดขึ้นครั้งเดียว  หลังวิกฤติแล้วทุกอย่างก็จะกลับมาภายใน 1-2 ปีหรืออย่างมากก็อาจจะ 3 ปี  เรื่องที่บริษัทจะ “ล่มสลาย” หรือล้มละลายไปนั้นไม่น่าจะเกิดขึ้น  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  สภาพคล่องในระบบการเงินของไทยยังมีเหลือล้น  ตราสารหนี้ที่ออกมาก็ยังมีคนต้องการอีกมาก   เมื่อโควิดผ่านไปและลูกค้ากลับมา  รายได้และกำไรของบริษัทก็จะกลับมา  “เหมือนเดิม”  และสุดท้ายก็คือ  ตลาดหุ้นต่างประเทศเช่นในสหรัฐอเมริกานั้น  ดัชนีหุ้นกลับมาที่เดิมและสูงกว่าแล้ว  และผลประกอบการของบริษัทโดยเฉพาะในกลุ่มไฮเท็คนั้นก็เพิ่มขึ้นมาก  ดังนั้น  เขาเชื่อว่าในที่สุดบริษัทและหุ้นไทยก็จะต้องตามกันไป ข้อสรุปทั้งหมดของผมก็คือ  ภาวะเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนต่อจากนี้น่าจะยังลำบากอยู่มาก โอกาสฟื้นตัวน่าจะเป็นไปอย่างช้า ๆ  แต่หุ้นที่ตกลงไปแรงมากกลับฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเม็ดเงินของคนไทยและนักลงทุนไทยซึ่งยังมีเงินมากและไม่ถูกกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากนัก  อย่างไรก็ตาม  เมื่อความจริงเริ่มจะปรากฏออกมาเรื่อย ๆ  ก็อาจจะมีความเสี่ยงว่า  นักลงทุนจะเริ่มตระหนักและถอนเงินออก  และวันนั้นก็อาจจะเป็นวันที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงมาให้เหมาะสมกับพื้นฐานที่แท้จริงของตลาดหุ้นไทย

MOST POPULAR