แท็ก: ดร.นิเวศน์
ซินจ่าวเวียดนาม
โลกในมุมมองของ Value Investor 8 มิถุนายน 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ผมเพิ่งกลับจากการเดินทางไปเยือนเมืองโฮจิมิน 2 วัน หลังจากที่ไปครั้งสุดท้ายเมื่อปลายปี 2560 หรือประมาณ 6-7 ปีที่ผ่านมา ซึ่งก็ต้องถือว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากที่ผมไม่ได้ “สัมผัส” กับ “บรรยากาศ” ของประเทศเวียดนามที่ผมมั่นใจว่ากำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเห็นได้จากตัวเลขทางเศรษฐกิจและข่าวสารต่าง ๆ ที่ออกมาตลอดเวลาไม่ต้องพูดถึงราคาและดัชนีตลาดหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นในช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะ...
เศรษฐกิจและตลาดหุ้นของประเทศใน 10 ปีข้างหน้า
โลกในมุมมองของ Value Investor 25 พฤษภาคม 67
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หลังจากข้อมูลการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ปี 2567 ของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศหลัก ๆ ในกลุ่มอาเซียนถูกประกาศออกมาเมื่อ 4-5 วันที่ผ่านมา รัฐบาลและนักวิชาการไทยต่างก็รู้สึกตกใจและผิดหวังกับตัวเลขการเติบโตของ GDP ไทยที่ 1.5% และต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่เติบโตสูงกว่ามาก นอกจากนั้น ...
ขอปิดรับ! ❌ทริปสัมมนาหุ้นเวียดนาม 2024ทั้ง Ho Chi Minh City และ Danang
ขอปิดรับ! ❌ทริปสัมมนาหุ้นเวียดนาม 2024ทั้ง Ho Chi Minh City และ Danang ค่ะ
ขอบคุณผู้สมัครทริปสัมมนา VVI ไปเวียดนามทุกท่านขอบคุณ Dragon Capital สำหรับการช่วยประสานงานในทริป
ขอบคุณ Special Guest ในทริป HCMCดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากรดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการP’ เอก ธาราบดี ซึ้งอดิชัยวิทย์P’...
จุดจบของเซียนคอร์เนอร์หุ้นบันลือโลก
โลกในมุมมองของ Value Investor 18 พ.ค. 67
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ในปี 1996-2001 เป็นเวลาประมาณ 5 ปี เป็นช่วง “เวลาทอง” และ “จุดจบ” ของกองทุน “Tiger Funds” หรือ “กองทุนเสือ” ที่ก่อตั้งและบริหารโดย...
กำเนิดเซียนหุ้นเวียดนาม-จีน
โลกในมุมมองของ Value Investor 11 พฤษภาคม 2567
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ตั้งแต่ต้นปี 2567 ดัชนีตลาดหุ้นเวียดนามปรับตัวขึ้นไปประมาณ 10% แล้วนับถึงวันที่ 10 พฤษภาคม นับเป็นการฟื้นตัวต่อเนื่องจากปี 2566 ที่ดัชนีปรับตัวขึ้นไปประมาณ 12% โดยเหตุผลของการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นนั้นมาจากการฟื้นตัวของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวมาตั้งแต่ปี 2566 หลังจากสถานการณ์วิกฤติโควิด 19 “จบลง”
ตัวเลขการนำเข้าและส่งออกที่เคยซบเซาเพราะภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่เอื้ออำนวยนั้น ...
ห้าทศวรรษตลาดหุ้นไทย
โลกในมุมมองของ Value Investor 27 เมษายน 67
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เดือนเมษายนปีหน้าจะเป็นปีที่ตลาดหุ้นไทยมีอายุครบ 50 ปี หรือเป็นเวลา 5 ทศวรรษของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น ผมก็อยากจะตรวจสอบหรือทบทวนว่าในแต่ละทศวรรษที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยมีวิวัฒนาการและผลงานเด่น ๆ อย่างไรบ้าง พอจะกำหนดเป็นภาพใหญ่ ๆ ได้ไหมว่าแต่ละยุคควรจะเรียกว่าอย่างไร
เริ่มเปิดตลาดหุ้นไทยในช่วงเดือนเมษายน 2518...
Good Times Never Seemed So Good
โลกในมุมมองของ Value Investor 30 มี.ค. 67
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
วันที่ศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567 ปริมาณการซื้อขายหุ้นของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยลดลงมาเหลือเพียง 26,472 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ผมไม่เห็นมานานมาก น่าจะเป็นหลาย ๆ ปี และนั่นเป็นตัวเลขที่ “น่าตกใจ” แม้ว่าเราเพิ่งจะเพิ่มเวลาการซื้อขายหุ้นอีกวันละครึ่งชั่วโมงเมื่อไม่กี่วันมานี้ เพราะปริมาณการซื้อขายหุ้นของตลาดหุ้นไทยเมื่อไม่กี่ปีก่อนบางวันเคยขึ้นไปสูงถึงวันละแสนล้านบาท และถ้านับจากต้นปีนี้ ปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันเฉลี่ยก็ยังอยู่ที่ประมาณ...
การปรับพอร์ตหุ้น
โลกในมุมมองของ Value Investor 17 มีนาคม 67
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ตั้งแต่เป็นนักลงทุนเต็มตัวแบบ VI หลังวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ผมก็ใช้พอร์ตลงทุนแทบจะ “แบบเดียว” มานานมากแทบจะเกือบ 20 ปี นั่นก็คือ ลงทุนเฉพาะในหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจะเป็นการลงทุนเกือบ 100% แทบจะตลอดเวลา วิธีการลงทุนก็คือการเลือกหุ้นเป็นรายตัวแบบ “VI” พอร์ตเป็นแบบ “Focus”...
นักเก็งกำไรตายแล้ว?
โลกในมุมมองของ Value Investor 9 มีนาคม 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เมื่อตลาดหุ้นปิดในวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2567 ผมนั่งดูดัชนีตลาดหุ้นไทย ปริมาณการซื้อขายหุ้นและหุ้นที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุด 10 ตัวแรก—ตามปกติ ผมก็ฉุกคิดขึ้นมาว่ามีอะไรบางอย่างที่น่าจะเปลี่ยนแปลงไปมากสำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วงหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาโดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัวหรือไม่ตระหนัก และผมก็เริ่มที่จะคิดว่านี่คือสถานการณ์ที่ นักลงทุนหรือถ้าจะเรียกว่านักเก็งกำไรน่าจะถูกต้องกว่า “กำลังหมดหวังและหมดกำลังใจ” กับตลาดหุ้นไทยอย่างรุนแรงและได้แสดงออกผ่านตัวเลขและข้อมูลหลาย...
ไทย-จีน ตลาดหุ้นป่วยแห่งเอเชีย
โลกในมุมมองของ Value Investor 17 กุมภาพันธ์ 2567
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หลังจากที่เปลี่ยนแนวทางการลงทุนในตลาดหุ้นจากที่เน้นเฉพาะในตลาดไทยไปเป็นการลงทุนในตลาดหุ้น “ทั่วโลก” และจากการลงทุนเลือกหุ้นเป็นรายตัวเป็นหลัก เป็นการลงทุนผสมผสานระหว่างรายตัวกับการลงทุนใน “กองทุน” ของประเทศหรือกองทุนของกลุ่มบริษัทที่น่าสนใจตามอุตสาหกรรมหรือตามเทคโนโลยีที่เป็นหุ้นแห่งอนาคต เป็นต้น ผมก็เริ่มศึกษาว่าประเทศหรือเศรษฐกิจไหนที่น่าสนใจ—ในเอเชีย
เริ่มจากการมองดูผลการดำเนินงานของดัชนีตลาดหุ้นในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา เริ่มจากทางตะวันตกคืออินเดียและเคลื่อนไปทางตะวันออกสุดที่ญี่ปุ่น ดูเฉพาะประเทศหลัก ๆ ที่มีตลาดหุ้นที่ใช้การได้เช่นเดียวกับระบบการเมืองและเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพมานานพอ
สิบปีที่ตลาดหุ้นอินเดียนั้น ดูแบบหยาบ...