แท็ก: บทความ
ค้นคว้าหาหุ้นโลก
โลกในมุมมองของ Value Investor 28 กันยายน 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ตั้งแต่ต้นปี 2567 ผมได้วาง “Playbook” ของการลงทุนของผมไว้ว่า ผมจะปรับพอร์ตการลงทุนระยะยาวของผมให้ประกอบไปด้วยหุ้นเวียดนามประมาณ 1 ใน 3 ซึ่งจะเป็น “กองหน้า” ที่จะใช้ในการสร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุด แต่มีความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพราะผมจะเลือกหุ้นเอง ซึ่งจะเป็นหุ้นแนว “ซุปเปอร์สต็อก” ซึ่งก็คือหุ้นที่จะเติบโตระยะยาวและมีความสามารถในการแข่งขันสูงและยั่งยืน ...
พอร์ตนี้ดีมีปันผล-คุ้มครองเงินต้น
โลกในมุมมองของ Value Investor 21 กันยายน 67
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
การเปิดจองกองทุนรวมวายุภักษ์สำหรับประชาชนทั่วไปจบลงแล้ว คนที่ไม่ได้จอง แต่สนใจที่จะลงทุนในตลาดหุ้นที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีแต่มีความเสี่ยงต่ำ ประมาณว่าได้ปันผลปีละไม่ต่ำกว่า 3% จากเงินลงทุนเริ่มต้นที่ประมาณ 1 ล้านบาทต่อไปเรื่อย ๆ ทุกปีเป็นเวลา 10 ปี และในสิ้นปีที่ 10 เงินต้นก็ยังอยู่ครบคล้าย ๆ...
หุ้น VI รุ่นใหม่ไม่มี Moat
โลกในมุมมองของ Value Investor 14 กันยายน 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หุ้นที่ “Value Investor” เล่นหรือลงทุนนั้น มีหลายแบบและก็มักจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจและหุ้นในขณะนั้น เพราะ VI โดยเฉพาะของไทยนั้น มีหลายแบบมาก ถ้าจะว่าไป เวลานี้นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จและมีพอร์ตขนาดใหญ่แทบทุกคนก็เป็นหรือเรียกตัวเองว่าเป็น “VI” แทบทั้งนั้น และพวกเขาต่างก็ยกคำจำกัดความของคำว่า ...
มาละเหวยมาละวา มาซื้อหรือมาขายตาละลา
โลกในมุมมองของ Value Investor 7 กันยายน 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
วันที่ 7 สิงหาคม 2567 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตกลงมาต่ำมากที่ 1,291 จุด และเป็นการตกลงมาจากต้นปีถึง 8.8% ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นตลาดหุ้นที่ “แย่ที่สุดในโลก” ในขณะนั้น แต่หลังจากนั้น ดัชนีตลาดก็เริ่มฟื้นตัวขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวันที่ 4 กันยายน...
เส้นทางแห่งความมั่งคั่ง เริ่มจากการกินลูกชิ้นเนื้อวัว
โลกในมุมมองของ Value Investor 31 สิงหาคม 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เริ่มตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1960 และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทฤษฎีทางจิตวิทยาเกี่ยวกับเรื่อง “การอดทนต่อสิ่งล่อใจ เพื่อสิ่งที่ดีกว่าในอนาคต” หรือในภาษาอังกฤษคือ “Delayed gratification” ซึ่งนำเสนอโดย ศาสตราจารย์ Walter Mischel และผ่านการทดลองที่มีชื่อเสียงติดอันดับสูงสุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของการทดลองทางด้านจิตวิทยาที่เรียกว่า “The Marshmallow Test” เป็นทฤษฎีที่นักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น VI...
บริษัทตีแตกจำกัด
โลกในมุมมองของ Value Investor 24 สิงหาคม 2567
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เมื่อปลายปี 2566 ผมได้จัดตั้งบริษัทเพื่อการลงทุนซื้อ-ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ชื่อ “บริษัทตีแตกจำกัด” เหตุผลก็เพื่อที่จะปรับโครงสร้างการถือหุ้นต่างประเทศจากการถือโดยบุคคลธรรมดามาเป็นการถือโดยนิติบุคคลที่ผมคิดว่าจะมีความเหมาะสมกว่าในกรณีการลงทุนซื้อ-ขายหุ้นในตลาดหุ้นต่างประเทศ เวลาผ่านมาประมาณ 8 เดือนแล้ว ผมคิดว่าควรที่จะเล่าเรื่องของบริษัทตีแตกที่จะให้ข้อคิดและแนวทางการลงทุนของผมอีกมุมหนึ่งอย่างที่ผมทำตลอดมา
ตีแตกเป็นบริษัทลงทุนในหุ้นของบริษัทอื่นที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นเป็นหลัก จะเรียกว่าเป็นบริษัท “Holding Company” ก็น่าจะได้ เพราะแนวทางการลงทุนของบริษัทนั้นจะเป็นการ “ถือระยะยาว”...
กำไรดีแต่หุ้นตก
โลกในมุมมองของ Value Investor 17 สิงหาคม 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
การประกาศผลการดำเนินงานทุกไตรมาสของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นช่วงเวลาสำคัญของนักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น Value Investor เพราะในสายตาของ VI จำนวนมากนั้น “กำไรเป็นพ่อของทุกสถาบัน” นั่นก็คือ กำไรเป็นตัวที่เหนือกว่าปัจจัยอื่นทั้งหมดที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนราคาหุ้น ถ้าบริษัททำกำไรดี ราคาหุ้นก็มักจะขึ้น ไม่ว่าปัจจัยอื่นรวมถึงปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจจะเลวร้ายหรือตลาดหุ้นโดยรวมจะตกลงมา ยิ่งกำไรดีมาก ราคาหุ้นก็มักจะขึ้นไปมาก
ในอดีตที่ยาวนานนับ 10...
บทเรียนการลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม
โลกในมุมมองของ Value Investor 2 สิงหาคม 2567
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
บทความวันนี้ของผมจะอ้างอิงบทความที่ผมเคยเขียน 3 บทความเกี่ยวกับการลงทุนและการเลือกหุ้นลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามคือ
บทความแรกชื่อ Super Stock ในตลาดหุ้นเวียดนาม ที่เขียนขึ้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม2565 หรือประมาณ 2 ปี 7 เดือน...
2 มังกรเวียด เทียบ 7 นางฟ้า
: ผลตอบแทน 10 ปีที่ผ่านมา
Magnificent Seven หรือ หุ้น 7 นางฟ้าที่พานักลงทุนขึ้นสวรรค์ ถูกใช้ครั้งแรกปี 2023 แทน หุ้น FAANG โดย 7 นางฟ้าผลัดกันทำ All Time High อย่างต่อเนื่อง
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา- Google...
ทฤษฎีแมลงสาบในตลาดหุ้น
โลกในมุมมองของ Value Investor 13 กรกฎาคม 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
พฤติกรรมของนักลงทุนและหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นสิ่งที่นักวิชาการจำนวนมากได้ทำการศึกษามายาวนาน และได้สร้างเป็น “ทฤษฎี” ขึ้นมากมาย หลายทฤษฎีก็ “เปลี่ยนโลกของการลงทุน” ไปอย่าง “สิ้นเชิง” ตัวอย่างที่ชัดเจนก็เช่น ทฤษฎี “ตลาดหุ้นที่มีประสิทธิภาพ” หรือ “Efficient Market Hypothesis”...