หน้าแรก แท็ก หุ้นเวียดนาม

แท็ก: หุ้นเวียดนาม

All Time High อีกครั้ง!

0
มีเรื่องให้ Surprise ได้ตลอดสำหรับตลาดหุ้นเวียดนามในช่วงนี้ที่ VN Index เพิ่ง All Time High ที่ 1,216 จุดเมื่อเดือนที่แล้ววันนี้ปิดตลาด All Time High อีกครั้งที่ 1,298 จุด ใกล้ทะลุ 1,300 จุดแล้วนะคะ สอดคล้องกับที่ S&P ปรับมุมมองเวียดนามเป็นบวกนับเป็น "ประเทศแรกในโลก"...

ครบเครื่อง เรื่อง Diamond ETF

0
ครบเครื่อง เรื่อง Diamond ETF ยังคง Hot เปล่งประกายสำหรับ ETF ของเวียดนามกองนี้นะคะ แม้ว่าช่วงนี้จะมีย่อลงมาบ้าง แต่ Inbox ใน VVI ก็ยังมีคนถามถึง ETF กองนี้ อยู่ตลอดค่ะ และที่สำคัญคือกองเพิ่ง Rebalance พอร์ต พร้อม Publish ในเว็บไซต์ DCVFM แอดมินก็เลยขอสรุปคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับ Diamond...

เกิดอะไร? ทำไม Diamond ผันผวนหนัก?

0
เกิดอะไร? ทำไม Diamond ผันผวนหนัก? ช่วง 2 วันมานี้ตลาดหุ้นเวียดนามก็ดูไม่ได้ผันผวนอะไร แต่ทำไม Diamond ETF (FUEVFVND) ขวัญใจนักลงทุนไทยและต่างชาติ ผันผวนหนักจัง? วีวีไอจะสรุปให้ฟังค่ะ ——ทำไม——เมื่อวานอยู่ดีๆ Diamond ก็ All time highที่ +4.64% (23,700 VND) วันนี้ก็มีช่วงที่ -5.19% (22,470 VND) สุดท้าย ปิดตลาดไปที่...

ทำไม ETF และหุ้น Old Economy ในเวียดนามถึงน่าสนใจ

0
แอดเพิ่งดูรายการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ประชุมผู้ถือหุ้นปู่บัฟเฟตต์ กับดร.นิเวศน์ ล่าสุด ขอหยิบยกประเด็นที่น่าสนใจมาฝาก ดังนี้ค่ะ —— ทำไม ETF เวียดนามถึงน่าสนใจ —— 30 ปี ก่อน บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก Bank of Japan $104,000 ล้าน ตอนนี้บริษัทที่ใหญ่สุดของโลกเป็น Apple มูลค่า $2.055 ล้านล้านเหรียญ ทั้งมูลค่าและธุรกิจนี่คนละเรื่องกับสมัยก่อนเลย แต่จากแสนล้าน เป็น 2 ล้านล้านใน 30 ปี...

หุ้นเวียดนามน่าลงทุนเเค่ไหนในปี 2021พบกับแอดมิน และ หมอนัท คลินิกกองทุน และ พรี่หนอม TaxBugnoms

0
https://youtu.be/ASd-DRvPRrI หุ้นต่างประเทศน่าลงทุนแค่ไหน โดยเฉพาะหุ้นใกล้บ้านเราอย่างเวียดนาม วันนี้มาพูดคุยประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นเวียดนาม กับเเขกรับเชิญสุดพิเศษ คุณสติมา เมี้ยนละม้าย หรือคุณเต๋า จาก Vietnam Value Investor หุ้นเวียดนาม กับพรี่หนอม TAXBugnoms และหมอนัท คลินิกกองทุนแสดงน้อยลง สนใจเรียนรู้ออนไลน์ ลงทุนหุ้นเวียดนาม อเมริกา จีน สามารถดูรายละเอียดและ สมัครได้ที่: https://bit.ly/316AyPX  ท่านสามารถติดตามข่าวสารจาก vietnamviได้ที่ Website - https://www.vietnamvi.com Facebook -https://www.facebook.com/vvinvestor/ Line @vietnamvi- https://lin.ee/47V0kep YouTube- https://youtube.com/c/Vietnamvi

วิธีเลือกตลาดหุ้นลงทุน

0
โลกในมุมมองของ Value Investor   6 มีนาคม 64 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ด้วยโลกของการลงทุนที่เปิดกว้างขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนสำหรับนักลงทุนไทย  ประกอบกับการที่ตลาดหุ้นไทยมีผลงานการลงทุนที่ “ย่ำแย่” คือแทบไม่ให้ผลตอบแทนเลยมาเป็นเวลา 7-8 ปีแล้ว  การเคลื่อนย้ายเม็ดเงินลงทุนไปยังตลาดอื่น ๆ  ทั่วโลกจึงเป็นสิ่งที่มีเหตุผลและนักลงทุนจำนวนไม่น้อยก็ได้เริ่มออกไปลงทุน  หลาย ๆ  คนได้ผลตอบแทนที่ดีมากในช่วงเร็ว ๆ  นี้  อย่างไรก็ตาม  มีคำถามว่าตลาดหุ้นที่ไปลงนั้น  จะดีต่อไปอย่างยั่งยืนหรือเปล่า ...

กองทุนพยุงหุ้น(กู้) BFS

0
โลกในมุมมองของ Value Investor 11 เม.ย. 63 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ​แผนการจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้นกู้เอกชน BFS หรือ “Corporate Bond Stabilization Fund” ของธนาคารแห่งประเทศไทยวงเงิน 400,000 ล้านบาทนั้น  ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีและจำเป็นอย่างยิ่งในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่กำลังวิกฤติเนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าซึ่งทำให้เศรษฐกิจเกือบทุกภาคส่วนโดยเฉพาะที่ขายสินค้าหรือบริการที่ไม่จำเป็นเร่งด่วนแทบจะหยุดนิ่งและส่งผลให้คนจำนวนมากตกงานและบริษัทบางแห่งก็อาจจะต้องล้มละลายเพราะขายสินค้าไม่ได้    ชื่อของกองทุนถ้าฟังอย่างผิวเผินก็เหมือนกับว่าจะออกมาช่วยซื้อดันราคาหุ้นกู้เอกชนไม่ให้ตกต่ำลง  เป็นการช่วยเหลือผู้ลงทุนไม่ให้ขาดทุนรุนแรงซึ่งไม่เห็นว่าจะมีประโยชน์อะไรนัก  เพราะการเป็นนักลงทุนนั้น  เขาก็จะต้องรับความเสี่ยงที่จะขาดทุนอยู่แล้ว  เหนือสิ่งอื่นใด  ทำไมไม่ตั้งกองทุนพยุงหุ้นด้วยเล่า?  เพราะนักเล่นหุ้นก็ขาดทุนเหมือนกัน ​ความเป็นจริงก็คือ  กองทุน BFS นี้คงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยนักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นกู้เอกชนซึ่งในปัจจุบันนั้นมีหุ้นกู้ที่ค้างอยู่ในตลาดถึง 3.6 ล้านล้านบาทแม้ว่าพวกเขาก็คงจะได้ประโยชน์จากการที่ราคาหุ้นกู้จำนวนมากไม่ตกต่ำลงมารุนแรงเพราะวิกฤติโควิดรอบนี้  สิ่งที่แบ้งค์ชาติต้องการจริง ๆ  ก็คือการเพิ่ม “สภาพคล่อง” ในระบบการเงินให้แก่บริษัทขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นผู้ออกหุ้นกู้จำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา  หุ้นกู้จำนวน 3.6...

บทเรียนการลงทุนจากวิกฤติโควิด19

0
โลกในมุมมองของ Value Investor   4 เม.ย. 63 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร สำหรับนักลงทุน “รุ่นใหม่” ส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นไทย  “วิกฤติโควิด19” น่าจะเป็น “Wake Up Call” หรือการปลุกให้ตื่นขึ้นเพื่อเผชิญกับความเป็นจริงที่โหดร้ายของการลงทุนที่คนจำนวนมากไม่ได้ตระหนัก  เพราะสำหรับนักลงทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นไทยไม่เกิน 12 ปี คือเริ่มลงทุนหลังวิกฤติซับไพร์มในปี 2551 แล้ว  พวกเขาไม่เคยประสบกับการตกลงมาอย่างรุนแรงของตลาดหุ้นจริง ๆ  เลย  ปีที่หุ้นลงแรง ที่สุดก็ไม่เกิน 15% ส่วนใหญ่หุ้นจะขึ้นและก็ขึ้นแรงเกินปีละ 10%  ปีที่หุ้นขึ้นไปเกิน 30% มีถึง 3 ปี  อย่างไรก็ตาม  วิกฤติครั้งนี้นับถึงวันวันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2563 ทำให้ดัชนีหุ้นตกลงมาต่ำที่สุดในรอบประมาณ 8 ปี  ซึ่งก็แปลว่าคนที่เริ่มลงทุนมาน้อยกว่า 8 ปี และเป็นนักลงทุนระยะยาว  ทั้งที่ลงทุนเองและลงทุนผ่านกองทุนรวมประเภทต่าง ๆ  นั้น  โดยส่วนใหญ่แล้วอาจจะไม่ได้ผลตอบแทนเลย  เงินหรือความมั่งคั่งที่เก็บสะสมมาตลอดและเคยรู้สึกว่ามันเพิ่มขึ้นมากนั้น  หายไปภายใน “พริบตา”  และนี่ก็ยัง “ไม่จบ” ไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป  และนี่ก็คือบทเรียนที่หนึ่งของ “วิกฤติตลาดหุ้น” ที่ว่า  “การลงทุนมีความเสี่ยง” โดยเฉพาะความเสี่ยงจาก “วิกฤติตลาดหุ้น” บทเรียนที่สองก็คือ  วิกฤติตลาดหุ้นนั้น  ดูเหมือนว่ามันเป็นเรื่อง “ปกติ” ที่จะต้องเกิดภายในระยะเวลาประมาณไม่เกินทุก 10 ปี  วิกฤติครั้งนี้อาจจะมาช้าหน่อยแต่สุดท้ายก็มา  ผมเองผ่านวิกฤติมาหลายครั้ง  แต่แล้วก็ไม่จำหรือพยายามหาเหตุผลว่าครั้งนี้มันคงไม่เกิดเพราะมันไม่มีสัญญาณทางการเงินที่มีเหตุผลชัดเจนว่ามันจะเกิด  เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ เงินล้นโลกและดอกเบี้ยต่ำสุดในประวัติศาสตร์และราคาหุ้นก็ไม่ได้อยู่ในระดับสูงมากเป็นช่วง “กระทิง”  ว่าที่จริงตลาดหุ้นไทยไม่ได้ไปไหนมาไม่ต่ำกว่า 5-6 ปีแล้ว  มันจะเกิดวิกฤติด้วยเรื่องใด  อย่างมากก็น่าจะแค่ถูก  “หางเลข” จากตลาดหุ้นโลกที่อาจเกิดวิกฤติ- ถ้ามี  ดังนั้น  วิกฤติครั้งนี้ผมจะต้องจำเป็นบทเรียนว่า  วิกฤตินั้น  เป็นสิ่งที่ “คาดไม่ได้” แต่มันมักจะต้องมาในวันใดวันหนึ่งในช่วงไม่เกินประมาณ 10 ปี นับจากวิกฤติครั้งที่แล้ว บทเรียนที่สามก็คือ  ในวิกฤตินั้น  หุ้นกลุ่มที่จะตกลงมาแรงมากทุกครั้งก็คือ  หุ้นของสถาบันการเงินโดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ทั้งหลาย  แม้แต่ครั้งนี้ที่สาเหตุของวิกฤติไม่ได้มาจากสถาบันการเงินแต่สุดท้ายมันก็มาลงที่สถาบันการเงินอยู่ดี  เหตุผลคงเป็นว่าสถาบันการเงินนั้นผูกติดอยู่กับเศรษฐกิจอย่างแยกไม่ออก  เศรษฐกิจทรุดเมื่อไร  ธนาคารก็ไปเมื่อนั้น  เหนือสิ่งอื่นใด  สถาบันการเงินนั้นกู้ยืมเงินมหาศาล  อย่างน้อย 4-5 เท่าหรือ 10 เท่าของทุนของตนเอง  ความเสี่ยงจึงมีมหาศาล  ยิ่งไปกว่านั้น  หุ้นแบ้งค์เป็นหุ้นที่มีผู้ถือหุ้นที่เป็นนักลงทุนเกือบ 100% Free Float สูงมาก  และถูกถือโดยนักลงทุนต่างประเทศและนักลงทุนสถาบันเกือบทุกแห่ง  ดังนั้น  ในวันที่เกิดวิกฤติ  ไม่มีใครจะมารับซื้อหุ้นได้พอไม่ว่าพื้นฐานของบริษัทจะเป็นอย่างไร บทเรียนที่ตามมาจากข้อที่สามก็คือ หุ้นของกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหลาย  เฉพาะอย่างยิ่งก็คือผู้ขุดน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทั้งหลายต่างก็จะตกลงมาอย่างหนัก  เหตุผลก็คือ  ราคาของสินค้าเหล่านี้มักจะตกลงมาแรงมากอานิสงค์จากการหดตัวของ GDP ที่ทำให้ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ลดลงในขณะที่ต้นทุนการผลิตยังเท่าเดิม  ผลก็คือ  บริษัทขาดทุนอย่างหนัก  ทำให้หุ้นตกลงมาตาม บทเรียนที่ 5 ก็คือ  หุ้นกลุ่มที่จะพอเอาตัวรอดได้จากวิกฤติก็คือ  ผู้ที่ผลิตหรือขายสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันและเป็นกิจการที่บริษัทมีการผูกขาดหรือมีอำนาจทางการตลาดสูง  พูดง่าย ๆ  ยังไงคนก็จะต้องกินต้องใช้  แม้จะลดลงบ้างแต่ก็ไม่ถึงกับทำให้บริษัทขาดทุนหรือมีปัญหาทางการเงิน  ตัวอย่างเช่น  กลุ่มโทรคมนาคมที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือ สาธารณูปโภคเช่น ไฟฟ้าและน้ำประปา  ค้าปลีกขนาดใหญ่ที่ขายอาหารและสินค้าจำเป็นประจำวันและร้านสะดวกซื้อเป็นต้น  เหตุผลก็ชัดเจนว่าพวกเขาก็อาจจะมีรายได้และกำไรลดลง  แต่มันไม่เป็นหายนะ  และเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น มันก็มักจะกลับมาเหมือนเดิม บทเรียนที่ 6 ก็คือ  หุ้นที่อันตรายที่สุดในยามเกิดวิกฤติก็คือ  หุ้นขนาดเล็กถึงกลางที่ “โตเร็ว” และมีราคาแพงหรือค่าPE ที่สูงมากจนแทบเป็นไปไม่ได้  เพราะหุ้นเหล่านี้มักจะถูกเข้ามาเล่นเก็งกำไรโดยนักลงทุนรายย่อยจำนวนมากผสมกับนักเก็งกำไรรายใหญ่ที่มักจะเข้ามา  “ดูแล”  หรือ “ปั่นหุ้น” จนทำให้ราคาหุ้นสูงเกินพื้นฐานไปมาก   ในภาวะที่ตลาดหุ้นดีหรือยังเอื้ออำนวย  ราคาก็มักจะดำรงอยู่ได้  ปริมาณการซื้อขายหุ้นก็ยังสูงพอที่จะทำให้นักเล่นหุ้นสบายใจว่าสามารถซื้อและขายได้ด้วยราคาที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปมาก  อย่างไรก็ตาม  วิกฤติมักทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป คนไม่เชื่อว่าบริษัทจะโตได้ในภาวะอย่างนี้จึงเริ่มขายหุ้นทิ้ง  รายใหญ่อาจจะเริ่มขายเพื่อทำกำไรหรือหนีตายเนื่องจากอาจจะกังวลว่าหุ้นจะตกจนตนเองถูกเรียกให้วางเงินมาร์จินเพิ่มเติมจากโบรกเกอร์  ผลก็คือ  ราคาหุ้นตกดิ่งลงมาโดยหาผู้ซื้อได้ยาก  ปริมาณการซื้อขายลดลงอย่างรวดเร็วจนคนที่ถือหุ้นมากขายออกไปไม่ได้  หุ้นกลายเป็น  “หายนะ” บทเรียนที่ 7 ก็คือ หุ้นที่อยู่ใน “ศูนย์กลางของวิกฤติ” กล่าวคือเป็นหุ้นที่ถูกกระทบโดยตรงและ  เต็ม ๆ  มักจะตกลงมาแทบเป็น “หายนะ” เสมอ  โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นบริษัทที่มีฐานะทางการเงินไม่แข็งแรงเช่น  มีหนี้สินมากกว่าที่ควรจะเป็นและ/หรือมีความไม่สอดคล้องในเรื่องของระยะเวลาถึงกำหนดของการชำระหนี้กับรายได้ที่จะเข้ามา  เหตุผลก็คือ นอกจากผลประกอบการที่จะตกลงมาอย่างหนักแล้ว   ยังมาจากความเสี่ยงที่บริษัทอาจจะล้มละลายหรือต้องเพิ่มทุนจำนวนมากพร้อมกับการลดทุนของผู้ถือหุ้นเดิมด้วย  ในรอบวิกฤติปี 2540 ศูนย์กลางคือบริษัทเงินทุน  ส่วนรอบนี้ก็คือธุรกิจท่องเที่ยวที่ถูกกระทบเต็ม ๆ และยังไม่รู้ว่าจะจบลงเมื่อไร บทเรียนที่ 8 คือ  สิ่งที่ผมอยากจะเตือนไว้สำหรับคนที่อยากจะ “ช้อนหุ้น” ที่ตกลงมาแรงมากเพราะเชื่อว่าเมื่อวิกฤติผ่านไปแล้วหุ้นก็จะฟื้นตัว  หุ้นที่ตกลงไปมากก็จะขึ้นมากกว่าหุ้นที่ตกลงมาน้อย นี่เป็นเรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ  ในช่วงที่พื้นฐานของกิจการยังไม่ปรากฏ  คนยัง “เก็งกำไร” กันอยู่  ซึ่งช่วงนี้ก็อาจจะทำให้เกิด “การปรับตัวขึ้นทางเทคนิค”  เป็นระยะ ๆ  ได้  อย่างไรก็ตาม  สำหรับคนที่ลงทุนระยะยาวแล้ว  สิ่งที่ต้องดูก็คือ  มูลค่าที่แท้จริงวัดจากผลประกอบการระยะยาวเทียบกับราคาหุ้น  ดังนั้น  สิ่งที่จะต้องมองก็คือ  ผลประกอบการจะเป็นอย่างไรต่อไปทั้งในระยะสั้นและระยะยาว  ประเด็นก็คือ  ในช่วงแรก ๆ  ของวิกฤติตลาดหุ้น  การประเมินผลกระทบยังเป็นเรื่องยาก  แต่เมื่อเวลาผ่านไป  เราจะเห็นข้อมูลมากขึ้นและมากขึ้นเรื่อย ๆ  ในกรณีวิกฤติโควิดครั้งนี้  ตัวเลขที่จะต้องจับตามองก็คือ ผลประกอบการไตรมาศแรกและไตรมาศสองที่จะออกมาในระยะเวลาอีก 1 เดือนและ 4 เดือนข้างหน้า ตามลำดับ เพราะมันจะบอกว่าผลประกอบการทั้งปีจะเป็นอย่างไร  รวมไปถึงสถานะการระบาดของเชื้อไวรัสที่จะบอกว่ามันควรจะยุติได้เมื่อไร  สำหรับผมแล้ว  การลงทุนในวันนี้เองนั้น  ส่วนใหญ่น่าจะเป็นเรื่องของการ  “เก็งกำไร” ซึ่งมีความเสี่ยงไม่น้อย  บทเรียนสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ  ในทุกวิกฤติก็จะมี “ผู้แพ้” และ “ผู้ชนะ” เสมอ  ก่อนวิกฤติบริษัทบางกลุ่ม เจ้าสัวบางตระกูล หรือนักลงทุนบางคน “ร่ำรวย” กว่าคนอื่น  หลังวิกฤติก็จะมีบริษัทกลุ่มใหม่  เศรษฐีตระกูลใหม่  หรือนักลงทุนกลุ่มใหม่ร่ำรวยขึ้นมาแทน  “คุณค่า” ของกิจการเปลี่ยนแปลงไปจากกลุ่มเดิมเป็นกลุ่มใหม่  บางครั้งก็เป็นธุรกิจ “New Economy” ในวิกฤติครั้งนี้  คงต้องดูกันต่อไปว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบที่เคยผ่านมาไหม  นี่ก็คงขึ้นอยู่กับสถานภาพของเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย  เพราะในอดีตนั้น  ทุกครั้งที่เกิดวิกฤติ  หลังจากนั้นไทยก็กลับมาโตต่อไปได้อย่างแข็งแรง  แต่ครั้งนี้ผมก็ไม่ค่อยแน่ใจนัก  เหตุผลก็เพราะว่าตั้งแต่ก่อนวิกฤติหลายปีเราก็อ่อนแอลงมาโดยตลอดอยู่แล้ว  ผมก็อยากจะหวังว่า  หลังวิกฤติเราจะเกิด “ปาฏิหาริย์” ที่ทำให้ประเทศไทยกลับมาแข็งแกร่งและพร้อมต่อสู้กับประเทศอื่น ๆ  ทั่วโลกได้อย่างที่เคยเป็นมาช้านาน  และนั่นก็จะเป็นเวลาที่หุ้นไทยก็จะเติบโตขึ้นต่อไปอีกนานเช่นเดียวกัน

เลือกหุ้นในวิกฤติ Covid19

0
โลกในมุมมองของ Value Investor 28 มี.ค. 63 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วิกฤติตลาดหุ้นนั้นเป็นทั้ง “วิกฤติ” และ “โอกาส” สำหรับนักลงทุนที่จะเข้าไปลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เป็นความจริงที่ว่าโอกาสนั้นมีมากและหลาย ๆ คนก็เคยลงทุนและร่ำรวยมาจากการลงทุนในยามวิกฤติที่ราคาหุ้นตกต่ำลงมาก ซื้อหุ้นและถือยาวจนกระทั่งตลาดฟื้นและราคาหุ้นขึ้นไปมากมายจนทำให้คนถือกลายเป็นเศรษฐี แต่ก็มีไม่น้อยที่ลงทุนซื้อหุ้นในยามวิกฤติแล้วก็ “เจ๊ง” ไปอย่างเงียบ ๆ...

หุ้นรายตัวในดัชนีVN30 ...

0
บทความนี้จะมาแนะนำและอัพเดตข้อมูลหุ้นรายตัว ที่ยังคงอยู่ในกลุ่ม 30 หุ้นที่ทำกำไรมากที่สุดในปี 2019 ของเวียดนามค่ะ เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของเวียดนาม FPT Corporation หรือ FPT ค่ะ ภาพรวม • FPT เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม มีธุรกิจหลักคือ โทรคมนาคม การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ  การจัดจำหน่ายและกระจายสินค้าไอที, ส่งออกซอฟต์แวร์, การรวมระบบ, บริการอินเตอร์เน็ต เป็นต้น รวมถึงธุรกิจการลงทุนและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ • ผู้ก่อตั้งบริษัท Truong Gia Binh ได้รับการขนานนามว่าเป็น Bill Gates แห่งเวียดนาม และเป็นนักธุรกิจชาวเวียดนามคนแรกที่ได้รับรางวัลจาก Nikkei Asia จากกลุ่ม Nikkei ประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย • เป็นหนึ่งในบริษัทที่ไม่ใช่กิจการของรัฐที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม และกำลังขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ ที่ปัจจุบันมีการดำเนินการแล้วใน 45 ประเทศทั่วโลก โดยที่ผ่านมาได้เข้าซื้อบริษัทไอทีในสโลวะเกีย และบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ • บริษัทในเครืออาทิ - FPT Software Company Limited - FPT Information System Company Limited - FPT Investment JSC - FPT Education...

MOST POPULAR